4. เรื่องราวของพระเยซูในเอเชีย
โดยการเอาแบบอย่างของบรรดาสานุศิษย์สมัยแรกๆ ชุมชนคริสตชนในเอเชียถูกเรียกร้องให้ต้องเล่าเรื่องราวของพระเยซูเจ้าต่อไปด้วย "ใบหน้าแบบเอเชี ย" (EA 20)
นี่คือพระพรยิ่งใหญ่ที่สุดที่พระศาสนจักรสามารถมอบให้เอเชีย" (EA 10) เป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว
ที่สภาพระสังฆราชเอเชียได้ทำการไตร่ตรอ งอย่างลึกซึ้งถึงพันธกิจที่ถือเป็นอภิสิทธิ์นี้ บริบทเอเชียที่มีลักษณะจำเพาะชี้นำให้ใช้วิธีการแบบเอเชียในการแบ่งปันข่าวดีของพระเยซูคริสตเจ้า และจะต้องปฏิบัติกั นใน "การเสวนาสม่ำเสมอ ทำด้วยใจสุภาพ และด้วยความรัก" กับคนยากจน กับวัฒนธรรมท้องถิ่น และกับขนบธรรมเนียมประเพณีของศาสนาอื่นๆของชาวเอเชีย กระบวนการนี้ซึ่งเป็นลักษณะจำเพาะของพื้นฐานชาวเอเชีย เน้นการพึ่งพากันและกัน (ying yang) ซึ่งมีอยู่แล้วระหว่างประชากร วัฒนธรรม ศาสนาต่างๆ และวิสั ยทัศน์โลกทั่วไป จุดเริ่มต้นก็คือ "การอยู่กับประชาชน ตอบสนองความต้องการของพวกเขาด้วยความรู้สึกเฉียบไวต่อการประทับอยู่ของพระเจ้าในวัฒนธรรมและข นบธรรมเนียมประเพณีของศาสนาต่างๆ อีกทั้งเป็นประจักษ์พยานต่อคุณค่าแห่งพระอาณาจักรของพระเจ้า อาศัยการอยู่ของท่านท่ามกลางเขา ความเอื้ออาทร กา รแบ่งปัน และพระวาจา ชุมชนคริสตชนในเอเชียควรเอาใจใส่ที่จะต้องเจริญเติบโตขึ้นในคุณค่าทางศาสนาและวัฒนธรรม ที่เอเชียโปรดปรานและหึงหวงเป็นพิเศ ษ เช่น การชอบความเงียบและการนั่งสมาธิ ความเรียบง่าย ความปรองดองสมานฉันท์ การไม่ยึดติด การไม่นิยมใช้ความรุนแรง การยอมรับผู้ที่นับถือแตกต่าง ขยันทำงาน มีระเบียบ กระหายเรียนรู้ ฝักใฝ่หลักปรัชญา เคารพชีวิต เมตตาสัตว์ทุกชนิด ใกล้ชิดกับธรรมชาติ เคารพนับถือบิดามารดา ผู้อาวุโส ปู่ย่าตาทวด และรักชีวิตชุมชน (EA 6)
สำหรับคริสตชนในเอเชีย "การประกาศองค์พระคริสตเจ้าก่อนอื่นใด หมายถึงการเจริญชีวิตเหมือนพระองค์ท่ามกลางเพื่อนบ้านที่นับถือศาสนาอื่น และปฏิ บัติหน้าที่อาศัยพลานุภาพแห่งพระหรรษทานของพระองค์"
กระบวนการนำเอาวัฒนธรรมเข้าสู่พิธีกรรมของเราตั้งอยู่บนหลักการที่ว่า "พระศาสนจักรที่ยืนหยัด พร้อมกับพี่น้องชายหญิงศาสนาอื่น ในเรื่องที่ต้องเผชิญกับประเด็นแห่งชีวิตและความตายจะต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการ พูดอีกอย่างหนึ่งคือ วัฒนธรรมของพระ ศาสนจักเอง จะต้องได้รับการปรับในทุกระดับ ซึ่งรวมถึงเรื่องที่ลึกลงไป มากกว่าการปรับเปลี่ยนเรื่องจารีตพิธีและสัญลักษณ์เท่านั้น" การปรับเปลี่ยนดังกล่าวสาม ารถก่อให้เกิดแรงกระตุ้นให้เกิดการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมได้อย่างกว้างขวาง ซึ่งพระสันตะปาปา ยอห์น ปอล ที่ 2 ขอร้องพระศาสนจักรในเอเชียใน (EA 21-22)
|