| 3. เรื่องราวของพระเยซูในพระศาสนจักรสมัยแรกเริ่ม
ตั้งแต่แรกเริ่มเดิมที ชุมชนคริสตชนต่างพากันตระหนักเป็นอย่างดีว่า พระผู้ทรงกลับคืนพระชนม์ชีพทรงประทับอยู่ท่ามกลางพวกเขา และนั้นคือสิ่งที่ส
ถาปนาให้พวกเขาเป็นพระศาสนจักร และเป็นสิ่งที่นำพาให้พวกเขา "ศรัทธาต่อคำสั่งสอนของบรรดาอัครสาวกและเป็นหนึ่งเดียวกัน (koinonia) ศรัทธาต่อพิธีหั กปังและการสวดภาวนา
. ด้วยจิตใจชื่นชมยินดีและมีใจกว้าง
(กจ 2.42, 46) ความตระหนักดีนี้ถึงจุดยอดในช่วงเวลาที่มีการเฉลิมฉลองศีลมหาสนิท ซึ่งปราก ฏออกมาภายนอกด้วยเสียงอุทาน "มารานาธา" (1 คร 16.22) (ข้าแต่พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลาย โปรดเสด็จมา' หรือ 'พระเจ้าของข้าพเจ้าทั้งหลายทรงเสด็จลง มา')
พวกนั้นส่วนใหญ่เป็นศิษย์ของพระองค์
เมื่อพระองค์ทรงตรัสว่า "จงออกไปสั่งสอนชนทุกชาติให้เป็นสาวกของเรา!" (มธ 28.19) ชีวิตของพวกเขายึดถือเ อาพระคริสตเจ้าเป็นศูนย์กลาง จนว่าในไม่ช้าคนอื่นๆเริ่มขนานนามพวกเขาว่าเป็น "Christi-ani" ซึ่งแปลว่า 'ผู้ติดตามพระคริสตเจ้า' (กจ 11.26) และชีวิตของ พวกเขามีลักษณะพิเศษจำเพาะ จนกระทั่งชุมชนของพวกเขาถูกถือว่าเป็น "หนทาง" (กจ 9.2, 23; 22.4; 24.14, 22) รูปแบบที่พวกเขาดำเนินชีวิตคือ 'koinonia' เป็นหนึ่งเดียวกันในความรักและในการรับใช้ จนกระทั่งว่า "ไม่มีใครที่ขาดสิ่งที่จำเป็นในหมู่พวกเขาเลย (เทียบ กจ 4.32-35) พวกเขาอยู่ท่ามกลางสั งคมประหนึ่งเกลือ แสงสว่าง และเชื้อแป้ง (มธ 5.13-16; 13.33) การบอกเล่าเรื่องของพระเยซูจะแยกขาดจากการดำเนินชีวิตตามพระเยซูอย่างเป็นรูปธรรม ในบ ริบทของแต่ละวัดที่ตนอาศัยอยู่หาได้ไม่ ดังนั้นเรื่องราวของพระเยซูเจ้าจะต้องดำเนินต่อๆไปตาม 'หนทาง' ถึงขั้นที่พระเยซูทรงตำหนิเซาโลที่เบียดเบียนพระศาส นจักรของพระองค์ "เหตุใดเจ้าจึงเบียดเบียนเรา?" (กจ 9.4) เรื่องราวของพระเยซูเจ้าไม่ใช่เป็นอะไรที่เพ้อฝันแบบลมๆแล้งๆ แต่เป็นสิ่งที่จะต้องนำมาดำเนินชีวิตแ ละฝังลึกลงไปในชีวิตชุมชน เหตุฉะนี้ข้อความแห่งพระธรรมใหม่ในสมัยต้นๆ จึงไม่ใช่พระวรสาร แต่เป็นจดหมายของท่านเปาโล ซึ่งมักจะเกี่ยวโยงกับความหม ายซับซ้อนต่างๆและเกี่ยวกับชีวิตและคำสั่งสอนของพระเยซูเจ้าที่ส่งมาตักเตือนชุมชนต่างๆ
|