การประกาศพระเยซูเจ้าให้ชาวเอเชีย

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

1. บริบทของเอเชีย

1.1 ประเด็นที่มีความสำคัญสูงสุด: ผู้ที่สังเกตเหตุการณ์อย่างใกล้ชิดกับภาพรวมของเอเชียคงจะกล่าวเช่นเดียวกันกับสมเด็จพระสันตะปาปายอห์น ปอล ที่ 2 ที่ทรงตรัส ณ นครเอเธนส์ครั้งหนึ่งว่า "ข้าพเจ้ามองเห็นว่าประชากรแห่งเอเชีย เป็นผู้ที่ศรัทธาเลื่อมใสในศาสนาทุกรูปแบบ" (เทียบ กจ 17.22) ผู้ที่สังเกตนั้นยั งคงพูดอีกว่า ชาวเอเชียคุ้นเคยดีกับความทุกข์ยากและการขัดสนสิ่งจำเป็น เพราะฉะนั้นเอเชียตั้งแต่โบราณกาลมา ผู้สอนศาสนา นักพรต และนักพยากรณ์พยายา มแสวงหาคำตอบความหมายสำหรับชีวิตของพลเมืองของตน เป็นการหาคำตอบต่อคำถามต่างๆที่หยั่งรากลึกในหัวใจมนุษย์: มนุษย์เป็นอะไร? ความดีคืออะไรแล ะบาปคืออะไร? อะไรเป็นตัวที่ก่อความเศร้าแก่มนุษย์เรา และก่อให้เกิดความเศร้านั้นเพื่ออะไร?  หนทางนำไปสู่ความสุขที่แท้จริงนั้นอยู่ที่ไหน?    ความจริงเกี่ยวกั บความตาย การพิพากษา การตอบแทนบุญบาปหลังความตายนั้นเป็นอย่างไร? สุดท้าย อะไรคือรหัสธรรมสำคัญสุดที่พูดไม่ออกบอกไม่ถูกซึ่งห้อมล้อมความเป็นมนุ ษย์ของเรา ที่ทำให้เราเป็นตัวตนขึ้นมา และการเดินทางของเราจะพาเราไปที่ใด?  (NA 1)  มันเป็นการเดินทางที่ยาวนาน  ในการเสวนากับ 'รหัสธรรมล้ำลึกที่ไม่อา จกล่าวได้ด้วยคำพูด' นั้น ทำให้เอเชียเป็นแหล่งกำเนิดของศาสนาต่างๆที่มีอยู่ในโลก

1.2 ประสบการณ์แห่งเอมมาอุส: ขณะที่เดินบนเส้นทางนี้ประชากรเอเชียมีพระเจ้าเป็นเพื่อนเดินทาง  เฉกเช่นสาวกสองคนที่กำลังเดินทางไปเมืองเอมมาอุ ส (ลก 24: 13-35) บางครั้ง "ตาของพวกเขาก็ถูกกำบังทำให้จำพระองค์ไม่ได้" (v. 16) ขณะที่พวกเขาพูดคุยสนทนาด้วยกัน แต่ก็มีบางเวลาเช่นกันที่ "ตาของพ วกเขาถูกเปิดออกแล้วจำพระองค์ได้" (v. 31) พวกเขาจำพระองค์ได้ในความเข้าใจและมุมมองที่ต่างกัน เช่นในฐานะที่เป็น "พระอาจารย์แห่งปรีชาญาณ นักบำบั ดโรค นักปลดแอก ผู้นำฝ่ายจิตวิญญาณ ผู้ที่ตรัสรู้แล้ว มิตรผู้โอบอ้อมอารีต่อคนจน ชาวซามารีตันผู้มีน้ำใจ นายชุมพาบาลที่ดี ผู้นบนอบอ่อนน้อม" (EA 20) บาง คนก็เข้าใจพระองค์ได้ดีกว่านั้นอีกว่า พระองค์เป็นพระวจนาถของพระเจ้าผู้ทรงบังเกิดมาเป็นมนุษย์ เป็นทั้งพระเจ้าและมนุษย์อย่างแท้จริง เป็น "พระผู้ไถ่ผู้ที่สาม ารถให้ความหมาย แก่ผู้ที่กำลังได้รับการเจ็บปวดและการทรมานอันหาคำอธิบายไม่ได้"  ซึ่งจะพบได้มากมายท่ามกลางประชากรชาวเอเชีย บุคคลเหล่านั้นยอมรับค วามเชื่อและได้กลายเป็นศิษย์ของพระองค์ พวกเขายืนยันว่า "หัวใจของเราไม่ได้ร้อนรุ่มดอกหรือเมื่อพระองค์ทรงปราศรัยกับเราบนท้องถนน?" (v. 32)  ดังนั้นจึ งได้เกิดมีชุมชนแห่งสานุศิษย์ของพระเยซูขึ้นมา อันได้แก่พระศาสนจักรท้องถิ่นต่างๆ พระศาสนจักรท้องถิ่นบางแห่งมีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปถึงศตวรรษแร กๆเลยทีเดียว เช่นที่เกราลา ส่วนที่อื่นๆเช่นในเอเชียกลางนั้นเกิดขึ้นภายหลัง จนในที่สุดก็มาถึงยุคแห่งธรรมทูต ตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 จึงเกิดมีชุมชนคาทอลิกมากม ายจากทิศตะวันออกสู่ทิศตะวันตก จากทิศเหนือจรดทิศใต้ทั่วเอเชีย อย่างไรก็ตามที เรื่องราวของพระเยซูในเอเชียมีรากที่หยั่งลึกมากกว่านี้