ประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน

Evangelii Nuntiandi

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

จิตตารมณ์ของการประกาศพระวรสาร

               วิงวอนอย่างเร่งร้อน

74. ก่อนจะจบการสนทนากับพี่น้องและลูกที่รักยิ่งครั้งนี้ เราใคร่จะขอร้องอย่างเร่งเ ร้าข้อหนึ่งเกี่ยวกับจิตตารมณ์ ซึ่งต้องเป็นกำลังเร่งเร้าผู้ที่ทำงานประกาศพระวรสาร

ในพระนามของพระเยซูคริสตเจ้า และในนามของอัครธรรมทูตเปโตรและเปาโลเราใคร่ขอเตือนบรรดาผู้ที่เป็นผู้ประกาศพระวรสารอย่างแท้จริง เพราะได้รับพระคุณพิเศษจ ากพระจิตและได้รับมอบหมายจากพระศาสนจักร เราใคร่ขอเตือนให้กระทำตนเป็นผู้คู่ควรกับหน้าที่นี้ ให้กระทำหน้าที่ดังกล่าวโดยไม่ต้องลังเลสงสัยหรือกลัว และอย่าละเลยเงื่อนไ ขต่างๆ ที่มิใช่แต่จะทำให้การประกาศพระวรสารกระทำได้เช่นนั้น แต่ยังทำให้การประกาศพระวรสารเป็นไปอย่างแข็งขันและเกิดผลดีอีกด้วย ต่อไปนี้เป็นเงื่อนไขสำคัญของข้อที่เราใคร่จะเน้น
 

การดลใจของพระจิต

75. ถ้าพระจิตไม่ทรงปฏิบัติการแล้ว ไม่มีทางที่จะประกาศพระวรสารได้ พระจิตเสด็จลงมาเหนือพระเยซูแห่งนาซาเร็ธขณะที่ทรงรับพิธีล้าง เสียพระบิดาตรัสว่า  “ผู้นี้เป็นบุตรสุดที่รักของเรา เป็นที่โปรดปรานของเรา” (มธ 3 : 17) นี่คือพระสุรเสียงแสดงให้เห็นภายนอกว่าพระเยซูได้ทรงรับเลือกและรับมอบภารกิจ “พระจิตเจ้าทรงนำ” (มธ 4 : 1) พระเยซูเจ้าไปยังถิ่นทุรกันดาร เพื่อรับการทดสอบ และทำการสู้รบขั้นแตกหักก่อนจะเริ่มประกอบภารกิจ พระเยซูเจ้าเสด็จกลับมายังแคว้นคาลิลี “พร้อมด้วยฤทธานุภาพของพระจิต” (ลก 4 : 14) แล้วทรงเริ่มทำการเทศนาที่นาซาเร็ธ ทรงรับว่าข้อความที่ประกาศอิสยาห์กล่าวว่า  “พระจิตของพระเจ้าทรงสถิตเหนือข้าพเจ้า” (ลก 4:18 ; เทียบ อสย 61:1) เป็นพระดำรัสถึงพระองค์เอง พระองค์ทรงประกาศว่า “ข้อความในพระคัมภีร์ตอนนี้เป็นอันสำเร็จไปแล้วในวันนี้” พระองค์ตรัสแก่พวกสานุศิษย์ที่กำลังจะทรงใช้ไปเทศนาพร้อมกับเป่าลมเหนือเขาว่า “จงรับพระจิตเจ้าเถิด” (ยน 20 : 22)

ความจริง เป็นเวลาหลังจากพระจิตเสด็จลงมาในวันพระจิตตาคมแล้ว บรรดาอัครธรรรมทูตถึงพากันไปทุกทิศทุกทาง เพื่อเริ่มงานอันยิ่งใหญ่คือการประกาศพระวรสารอันเป็นภารของพระศาสนจักร นักบุญเปโตรบรรยายให้เห็นว่า เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นเรื่องที่สำเร็จไปตามคำทำนายของประกาศกโยเอลว่า “เราจะให้พระจิตเจ้าของเรากับทุกคน” (กจ 2:17) “เปโตรเปี่ยมด้วยพระจิตเจ้า” (กจ 4:8) พูดกับประชาชนถึงพระเยซูพระบุตรแห่งพระเจ้านักบุญเปาโลก็ “เปี่ยมไปด้วยพระจิต” (กจ 9 : 17) เช่นเดียวกันก่อนที่จะออกทำการแพร่ธรรม เหมือนกับนักบุญสเตเฟนก็ “ได้รับพระจิตเจ้าอย่างเต็มเปี่ยม” (กจ 6, 5, 11; 7, 55) เมื่อได้รับเลือกให้เป็นมนตรีแห่งการรับใช้ และภายหลังเมื่อต้องหลั่งเลือดเป็นพยานประกาศพระคริสตเจ้า พระจิตผู้ทรงบันดาลให้นักบุญเปโตรและเปาโลอีกทั้งอัครธรรมทูตอื่นๆ พูดโดยดลใจให้คำพูดที่เขาต้องกล่าวออกมานั้น เสด็จลงมา “เหนือทุกคนที่กำลังฟังพระวาจา” (กจ 10 :44)

พระศาสนจักรเจริญเติบใหญ่ขึ้นด้วยความเกื้อหนุนของพระจิต (เทียบ กจ 9 : 31) พระจิตเป็นดวงวิญญาณของพระศาสนจักรนี้ เป็นพระจิตเจ้าที่สอนสัตบุรุษให้เข้าใจความหมายลึกซึ้งของคำสอนพระเยซูเจ้า ตลอดจนธรรมอันล้ำลึกเกี่ยวกับพระองค์ พระจิตเจ้าเป็นผู้ที่ทั้งในปัจจุบันนี้และในระยะแรกของพระศาสนจักร ทรงปฏิบัติงานอยู่ในตัวผู้ประกาศพระวรสารทุกคน ที่ยอมให้พระองค์เป็นเจ้าครอบครองนำไป และเป็นผู้ทรงดลใจให้พูดคำที่เขานึกพูดเองไม่ได้ แต่ในขณะเดียวกันพระจิตก็ทรงเตรียมจิตใจของผู้ที่ฟัง ให้พร้อมที่จะรับข่าวประเสริฐและพระราชัยที่มีผู้นำมาประกาศ

วิธีการทุกอย่างในการประกาศพระวรสารล้วนแต่ดี ๆ แต่ถึงแม้จะดีสักเพียงใดก็ไม่สามารถทดแทนกิจการอันลื่นไหลของพระจิตได้ การเตรียมงานของผู้ประกาศพระวรสารแม้จะเตรียมอย่างละเอียดลออสักเพียงใด ถ้าพระจิตไม่ช่วยก็ไร้ประโยชน์ การพูดชี้แจงเหตุผล แม้จะชี้แจงอย่างน่าเชื่อสักเพียงใด ถ้าพระจิตไม่ช่วย ก็ไม่มีอำนาจอันใดเหนือจิตใจของมนุษย์ แผนการที่คิดอย่างดีที่สุดโดยใช้สังคมวิทยาหรือจิตวิทยาช่วย ถ้าพระจิตไม่อนุกูลมิช้าก็จะปรากฏว่าไร้ค่า ขณะนี้เรากำลังอยู่ในยุคพิเศษของพระจิตในที่ทั่วไป ไม่ว่าใครก็พยายามรู้จักพระจิตให้ดียิ่งขึ้นตามที่พระคัมภีร์เผย มีความสุขใจที่จะอยู่ในอำนาจของพระองค์ชุมนุมกันอยู่รอบพระองค์ อยากให้พระองค์ทรงนำไป

อันว่า ถ้าพระจิตทรงพระฤทธานุภาพเด่นอยู่ในชีวิตทั้งชีวิตของพระศาสนจักร พระองค์ก็ทรงปฏิบัติงานมากที่สุดในการประกาศพระวรสารของพระศาสนจักรการที่งานประกาศพระวรสารได้เริ่มตั้งต้นอย่างมโหฬารเมื่อเช้าวันพระจิตตาคมโดยพระจิตทรงกระตุ้นนั้น มิใช่เรื่องที่เกิดขึ้นโดยบังเอิญเลย

กล่าวได้ว่า พระจิตเป็นตัวจักรสำคัญในการประกาศพระวรสาร พระจิตเป็นผู้กระตุ้นทุกคนให้ประกาศพระวรสาร และเป็นผู้บันดาลให้น้อมรับและเข้าใจพระวาจาแห่งความรอดในส่วนลึกของมโนธรรม (สมณกฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร ข้อ 4) แต่กล่าวได้ดุจเดียวกันว่า พระจิตเป็นจุดหมายปลายทางของการประกาศพระวรสารด้วย พระองค์แต่ผู้เดียวเป็นผู้ทรงบันดาลให้เกิดสิ่งสร้างใหม่ของมนุษยชาติใหม่ การประกาศพระวรสารต้องมีเป้าหมายและผลคือมีมนุษยชาติใหม่ โดยให้มีเอกภาพทั้ง ๆ ที่มีความผิดแผกกันหลายๆ อย่าง ซึ่งเอกภาพนั้นการประกาศพระวรสารใคร่ให้เกิดขึ้นในกลุ่มคริสตชน พระวรสารแพร่เข้าไปในใจกลางโลกก็ด้วยอำนาจของพระจิตเพราะพระจิตเป็นผู้ชี้ให้เห็นเครื่องหมายแพ่งกาลเวลาอันมาจากพระเป็นเจ้า และการประกาศพระวรสารก็ทำให้เราเข้าใจและเห็นว่า เครื่องหมายเหล่านั้นมีค่าในประวัติศาสตร์และมวลมนุษย์

สมัชชาพระสังฆราชในปี 1974 ได้เน้นมากถึงเรื่องพระจิตมีความสำคัญในงานประกาศพระวรสาร และยังได้แสดงความปรารถนาให้บรรดาพระสังฆราชและนักเทวศาสตร์-แต่เราใคร่รวมทั้งสัตบุรุษที่ได้รับตราเครื่องหมายของพระจิตเมื่อรับศีลล้างบาปด้วย-ศึกษาให้รู้ดียิ่งขึ้นว่าทุกวันนี้พระจิตทรงปฏิบัติงานในการแพร่ธรรมในลักษณะอย่างไรและโดยวิธีใด นั่นเป็นความปรารถนาของเราด้วยและในขณะเดียวกัน เราขอเร่งเร้าผู้ประกาศพระวรสารไม่ว่าจะเป็นผู้ใด ให้วอนขอพระจิตด้วยความเชื่อและด้วยใจร้อนรนโดยไม่หยุดยั้ง และปล่อยให้พระจิตทรงนำทางไปในฐานะเป็นผู้ดลใจให้วางแผน ดำริริเริ่ม และทำงานประกาศพระวรสาร

องค์พยานที่แท้จริง

บัดนี้ ให้เราพิจารณาดูตัวผู้ประกาศพระวรสารเอง ทุกวันนี้มีผู้พูดย้ำอยู่บ่อยๆ ว่า คนในศตวรรษนี้ชอบของแท้ โดยเฉพาะพวกอนุชนนั้น มีผู้ยืนยันว่า เขาเกลียดของเก๊ของเทียม แต่ชอบความจริงกับสิ่งที่เห็นทะลุปรุโปร่งได้ยิ่งกว่าสิ่งใดๆ

“เครื่องหมายแห่งกาลเวลา” นี้ต้องปลุกให้เราตื่นระวังระไว มีผู้ถามเงียบๆในใจ หรือไม่ก็ร้องถามดังๆ แต่ถามอย่างเอาจริงเอาจังทุกครั้งว่า “ท่านเชื่อเรื่องที่ท่านนำมาประกาศจริงๆ หรือ ท่านถือตามที่ท่านเชื่อหรือเปล่า ท่านเทศนาสอนเรื่องที่ท่านประพฤติจริงๆ หรือ” ในสมัยนี้ ความประพฤติเป็นแบบอย่างที่ดีนั้นได้กลายเป็นเงื่อนไขสำคัญที่การเทศนาจะมีผลดีจริงยิ่งกว่าในสมัยก่อนๆ เพราะเหตุนี้เอง เราจึงต้องรับผิดชอบอยู่ในผลคืบหน้าของการประกาศพระวรสาร

เราถามเมื่อเราเริ่มพิจารณาเรื่องนี้ว่า “สิบปีหลังจากากรประชุมสังคายนา พระศาสนจักรเป็นอย่างไรบ้าง” พระศาสนจักรตั้งมั่นอยู่ในกลางโลก แต่เป็นอิสระและเสรีพอที่จะเรียกความสนใจของโลกไหม พระศาสนจักรแสดงความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับมนุษย์ แต่ในขณะเดียวกันเป็น องค์พยานประกาศพระเป็นเจ้าผู้เป็นองค์สัมบูรณัตต์หรือไม่ พระศาสนจักรมีใจร้อนรนยิ่งขึ้นในการรำพึงพินิจและการนมัสการพระเป็นเจ้า มีความกระตือรือร้นยิ่งขึ้นในงานธรรมทูต งานเมตตาจิต และงานกอบกู้มนุษย์ให้เป็นอิสระหรือไม่ พระศาสนจักรพยายามยิ่งๆ ขึ้นหรือที่จะสร้างเอกภาพอันสมบูรณ์ของคริสตชนขึ้นใหม่เอกภาพซึ่งทำให้การเป็นองค์พยานร่วมกันเกิดผลดียิ่งขึ้น “เพื่อให้ทุกคนเป็นหนึ่งเดียวกันเช่นเดียวกับที่พระองค์ทรงอยู่ในข้าพเจ้า และข้าพเจ้าอยู่ในพระองค์ เพื่อให้เขาทั้งหลายอยู่ในพระองค์และในข้าพเจ้า โลกจะได้เชื่อว่าพระงอค์ทรงส่งข้าพเจ้ามา” (ยน 17: 21) เราทุกคนต้องรับผิดชอบในการตอบคำถามเหล่านี้

ฉะนั้นเราขอวิงวอนบรรดาพี่น้องพระสังฆราช ซึ่งพระจิตทรงตั้งให้เป็นผู้ปกครองพระศาสนจักร (เทียบ กจ 20 : 28) ขอวิงวอนพระบรรดาพระสงฆ์และสังฆานุกร ผู้ร่วมงานกับพระสังฆราชในการเรียกชุมนุมประชากรของพระเป็นเจ้า และในการเร้าใจกลุ่มคริสตชนท้องถิ่น ขอวิงวอนบรรดานักพรต ที่เป็นองค์พยานให้พระศาสนจักรซึ่งถูกเรียกไปสู่ความศักดิ์สิทธิ์ และนักพรตเองก็ต้องดำรงชีวิตเป็นองค์พยานยืนยันถึงบุญลาภของพระวรสาร ขอร้องบรรดาฆราวาส กล่าวคืน ครอบครัวคริสตชน เยาวชนและผู้ใหญ่ ผู้ประกอบอาชีพ ผู้นำ โดยไม่ลืมบรรดาคนจนซึ่งมักจะรวยความเชื่อและความหวัง ฆราวาสทุกคนที่สำนึกถึงหน้าที่ประกาศพระวรสาร เพื่อรับใช้พระศาสนจักรของเขาในกลางสังคมและในโลก เราขอบอกแก่ทุกคนว่าความร้อนรนในการประกาศพระวรสารต้องเกิดจากความศักดิ์สิทธิ์อย่างแท้จริงของชีวิต ซึ่งหล่อเลี้ยงด้วยการภาวนาและเป็นต้นด้วยความรักศีลมหาสนิท และตามที่สภาสังคายนาแนะนำ การเทศนาต้องช่วยให้ผู้เทศนามีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งๆ ขึ้น (สมณกฤษฎีกาเรื่องการปฏิบัติงานและชีวิตของพระสงฆ์ ข้อ 13)

โลกเรานี้ แม้อาการมากมายหลายอย่างแสดงว่าปฏิเสธพระเป็นเจ้า แต่ก็ยังแสวงหาพระองค์ด้วยวิธีต่างๆ ที่ไม่นึกฝัน และรู้สึกว่าต้องการพระองค์อย่างกระวนกระวายโลกเรียกร้องขอผู้ประกาศพระวรสาร ซึ่งพูดถึงพระเจ้าที่ผู้ประกาศพระวรสารควรรู้จักและมีความสัมพันธ์ เหมือนดังว่า เขาเห็นสิ่งที่แลเห็นไม่ได้ (เทียบ ฮบ11:27) โลกเรียกร้องและขอให้เราบำเพ็ญชีวิตอย่างซื่อๆ รักการภาวนามีเมตตาจิตต่อทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อคนต่ำต้อยและคนจน นบนอบเชื่อฟังและถ่อมตัว สละทิ้งตัวของตน หากไม่แสดงความศักดิ์สิทธิ์เช่นนี้ คำพูดของเราก็เห็นจะเข้าถึงใจมนุษย์ในสมัยนี้ได้ยาก น่ากลัวจะไร้ผลและหาประโยชน์อันใดมิได้
ผู้สร้างเอกภาพ

77. การประการพระวรสารจะอ่อนกำลังลง ถ้าผู้ที่ประกาศแตกแยกกันเองในรูปแบบต่างๆ นั่นมิใช่อุปสรรคร้ายแรงอย่างหนึ่งของการประกาศพระวรสารในทุกวันนี้ดอกหรือ ความจริงถ้าพระวรสารที่เราประกาศนั้นปรากฏว่าขัดแย้งเพราะการโต้เถียงกันด้านคำสอน ขัดแย้งกันในเรื่องความคิด หรือเพราะการแบ่งพรรคแบ่งพวกกันในหมู่คริสตชน ตามแต่ใครจะมีความคิดเห็นผิดกันเกี่ยวกับพระคริสตเจ้าและพระศาสนจักร หรือยิ่งกว่านั้น เพราะมีความเข้าใจต่างกันเกี่ยวกับสังคมและสถาบันมนุษย์ ผู้ที่เราไปเทศนาสอนเขาไม่ปั่นป่วนระส่ำระสายหรือมิฉะนั้นก็เห็นเป็นเรื่องน่าสะดุดได้อย่างไร

พระคริสตเจ้าได้ทรงทำพินัยกรรมฝ่ายวิญญาณสั่งเราไว้ว่า ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในระหว่างศิษย์ของพระองค์มิใช่เป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพวกเราเป็นคนของพระองค์เท่านั้น แต่ยังเป็นเครื่องพิสูจน์ว่าพระบิดาได้ทรงใช้พระองค์มาด้วย นั่นเป็นเครื่องทดสอบความน่าเชื่อถือของเรา คริสตชนและของพระคริสตเจ้าเอง ในฐานะเป็นผู้ประกาศพระวรสาร พวกเราอย่าแสดงให้สัตบุรุษของพระคริสตเจ้าเห็นว่าพวกเราเป็นคนแตกแยกและร้าวฉานด้วยเรื่องพิพาทที่เป็นแบบฉบับไม่ดี แต่จงแสดงว่าพวกเราเป็นคนสุขุมด้วยความเชื่อ รู้จักเข้าหากันเมื่อมีเรื่องบาดหมางกัน เพราะพวกเราร่วมกันแสวงหาความจริงอย่างจริงใจและไม่เห็นแก่ตัว ถูกแล้วชะตากรรมของการประกาศพระวรสารผูกพันอยู่กับการที่พระศาสนจักรแสดงว่ามีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน นั่นเป็นเรื่องที่ต้องรับผิดชอบ แต่ก็เป็นเรื่องที่ให้กำลังใจเราด้วย

ในที่นี้ เราใคร่เน้นถึงเรื่องความเป็นอันหนึ่งอันเดียวในหมู่คริสตชนเป็นหนทางและเครื่องมือของการประกาศพระวรสาร ความร้าวฉานของพวกคริสตชนเป็นพฤติการณ์ร้ายแรง ที่ทำให้กิจการของพระคริสตเจ้าเองมีอุปสรรค สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 ยืนยันอย่างแจ่มแจ้งและแข็งแรงว่า ความร้าวฉานนั้น “เป็นเหตุอันใหญ่หลวงที่ขัดขวางงานประกาศพระวรสารแก่มนุษย์ทุกคน และสำหรับหลายๆ คน ยังเป็นเหตุขัดขวางมิให้มารับความเชื่อ” (สมณกฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร ข้อ 6) ด้วยเหตุนี้ เมื่อประกาศปีศักดิ์สิทธิ์ เราเห็นจำเป็นต้องเตือนสัตบุรุษคาทอลิกทุกคนให้ระลึกว่า “ก่อนที่มนุษย์ทุกคนจะกลับคืนกับพระเป็นเจ้าพระบิดาของเรานั้น จำเป็นต้องจัดให้กลับมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันระหว่างผู้ที่มีความเชื่อ ยอมรับนับถือพระเยซู คริสตเจ้าเป็นพระผู้ทรงเมตตา ที่ช่วยมนุษย์ให้รอด และทำให้เขาสนิทกันในพระจิตแห่งความรักและความจริง”

เพราะเหตุนี้ เรารู้สึกมีความหวังอย่างแก่กล้า มองดูความพยายามของโลกคริสตชนในอันที่จะรื้อฟื้นให้กลับมีเอกภาพอันสมบูรณ์ตามที่พระคริสตเจ้าทรงปรารถนานักบุญเปาโลก็ยืนยันกับเราว่า“ความหวังนี้ไม่ทำให้เราผิดหวัง” (รม 5:5)ขณะที่เราทำงานอยู่ตลอดเวลา เพื่อพระเป็นเจ้าจะโปรดให้พวกเรามีเอกภาพอันสมบูรณ์ เราก็ปรารถนาให้มีการภาวนามากขึ้น อนึ่ง เราถือว่าความปรารถนาของบรรดาพระสังฆราชในสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่ 3 เป็นความปรารถนาของเราด้วย ความปรารถนานั้นคือให้พวกเราร่วมมืออย่างเด็ดเดี่ยวยิ่งขึ้นกับพี่น้องคริสตชนนิกายต่างๆ ซึ่งพวกเรายังมิได้รวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับเขาอย่างแท้จริง โดยยึดถือหลักว่า พวกเราได้รับศีลล้างบาปและมีมรดกความเชื่อร่วมกัน ทั้งนี้จะได้ร่วมกันเป็นองค์พยาน ประกาศพระคริสตเจ้าในโลกอย่างกว้างขวางยิ่งขึ้นด้วยงานประกาศพระวรสารอย่างเดียวกันคำสั่งของพระคริสตเจ้าบังคับให้พวกเราต้องปฏิบัติดังนี้นั่นเป็นพันธะของการเทศนา และการเป็นองค์พยานยืนยันถึงพระวรสาร

ผู้รับใช้ความจริง

78. พระวรสารซึ่งมอบฝากอยู่กับเรานั้น ยังเป็นพระวาจาแห่งความจริงด้วย ความจริงที่ทำให้ผู้รับเป็นไท (เทียบ ยน 8:32) และทำให้ใจสงบนั้น เป็นสิ่งที่ผู้คนพากันมาแสวงหาเมื่อผู้เทศน์นำข่าวประเสริฐไปประกาศแก่เขา นั่นคือ ความจริงเกี่ยวกับพระเ ป็นเจ้า ความจริงเกี่ยวกับมนุษย์และชะตากรรมอันล้ำลึกของมนุษย์ เป็นความจริงอันยากลำบาก ซึ่งเราค้นหาในพระวาจาของพร ะเจ้า และซึ่งขอบอกอีกครั้งว่า เราไม่ใช่นายหรือเจ้าของความจริงนั้น แต่เป็นเพียงผู้รับฝาก ผู้ป่าวประกาศ และผู้รับใช้ความจริงเท่านั้น

ขึ้นชื่อว่าผู้ประกาศพระวรสารแล้ว ใครๆ ก็เรียกร้องว่าเขาจะเคารพความจริง โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อความจริงที่เขาศึกษ าให้ซึ้งและจะบอกให้คนอื่นรู้ต่อไปนั้นมิใช่อะไรอื่น เป็นความจริงที่เปิดเผยดังนี้จึงเป็นส่วนของความจริง ประการแรก และความจ ริงประการแรกนั้นก็คือพระเป็นเจ้านั่นเอง ผู้ประกาศพระวรสารจึงเป็นผู้ที่แม้จะต้องทนทุกข์และสละทิ้งตนเอง ก็แสวงหาความจริง ซึ่งเขาจะบอกคนอื่นต่อไปอยู่เสมอ เขาไม่บิดเบือน ทั้งไม่ปิดบังความจริง เพราะเหตุที่อยากเป็นที่น่านับถือแก่มนุษย์ หือทำให้แป ลกใจหรือตกใจ หรือเพื่อให้คนอื่นเห็นเป็นคนแปลกกว่าคนอื่น หรือเพราะอยากเอาหน้า เขาไม่ปฏิเสธความจริง ไม่ยอมให้ความจ ริงที่เปิดเผยแล้วเคลือบคลุมอยู่ เพราะขี้เกียจค้นหา หรือเพื่อความสะดวกสบาย หรือเพราะกลัวเขาไม่ละเลยที่จะศึกษาความจริง เต็มใจรับใช้ความจริง ไม่ใช่ให้ความจริงรับใช้เขา

เพราะพวกเราเป็นผู้อภิบาลประชาสัตบุรุษ งานรับใช้ในด้านอภิบาลของเราเร่งเร้าเราให้พิทักษ์ ป้องกัน และถ่ายทอดควา มเป็นจริง โดยไม่เห็นแก่ความเหนื่อยยากพระสงฆ์ พระสังฆราชที่เด่นและศักดิ์สิทธิ์มากต่อมากได้เป็นตัวอย่างแสดงว่ารักความจ ริงเช่นนี้ ซึ่งหลายๆครั้งเป็นความรักถึงขั้นวีรภาพ พระเจ้าแห่งความจริงประสงค์ให้เราเป็นผู้ป้องกันความจริงอย่างระแวดระวัง และเป็นผู้ประกาศความจริงด้วยความเสียสละ

ท่านผู้มีความรู้ทั้งหลาย ไม่ว่าท่านจะเป็นนักเทวศาสตร์ หรือผู้อธิบายพระคัมภีร์หรือนักประวัติศาสตร์ งานประกาศพระวรสา รต้องการให้ท่านค้นคว้าอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ต้องการให้ท่านเอาใจใส่และระมัดระวังในการถ่ายทอดความจริง ซึ่งท่านคุ้นเคยและรู้จากการศึกษาแต่ความจริงนั้นใหญ่กว่าใจของมนุษย์ เพราะเป็นความจริงของพระเป็นเจ้าเอง

บิดามารดาและครูอาจารย์ทั้งหลาย หน้าที่ของท่านซึ่งในทุกวันนี้ไม่ใช่ง่ายนัก เพราะมีการกระทบกระทั่งกันมากมายหน้าที่ ของท่าน คือ ช่วยบุตรและนักเรียนของท่านให้ค้นพบความจริงทั่วไป รวมทั้งความจริงในเรื่องศาสนาและในเรื่องวิญญาณด้วย

ความรักกระตุ้นเรา

79. ทำงานประกาศพระวรสาร หมายความว่า ผู้ประกาศพระวรสารจะต้องมีความรักเยี่ยงพี่น้องต่อผู้ที่เขานำพระวรสารไปใ ห้ยิ่งวันยิ่งทวีขึ้น อัครธรรมทูตเปาโลซึ่งเป็นแบบฉบับของผู้ประกาศพระวรสาร ท่านเขียนถึงชาวเธสะโลนิกาเป็นความซึ่งถือเป็นแผนงาน เราต้องถือตามได้ดังต่อไปนี้ “เราห่วงใยท่าน จึงปรารถนาจะมอบให้ท่าน มิเพียงแต่ข่าวดีของข้าพเจ้าเท่านั้น แต่เราปรารถนาจะมอบชีวิตของเราแก่ท่านด้วย เพราะท่านทั้งหลายเป็นที่รักยิ่งของเรา” (1 ธส 2 : 8; เทียบ ฟป 1 : 8)

ความรักนี้เป็นอย่างไร เป็นยิ่งกว่าความรักอย่างครูความรักอย่างพ่อ เป็นอย่างยิ่งกว่าความรักอย่างแม่ (เทียบ 1 ธส 2:7-11; 1 คร 4:15; กท 4 :19) พระคริสตเจ้ามีพระประสงค์ให้ผู้ประกาศพระวรสารและผู้สร้างพระศาสนจักรทุกคนมีความรักแบบนี้แหละเครื่องหมายอย่างหนึ่งที่บอกความรักก็คือ ใคร่บอกความจริงและนำคนเข้ามาในเอกภาพ เครื่องหมายอีกอย่างหนึ่งที่บ อกความรักก็คืออุทิศตนเพื่อประกาศองค์พระเยซูคริสตเจ้า โดยไม่ย่นย่อท้อถอยตลอดไป ขอให้เรากล่าวถึงเครื่องหมายอื่นอีกประการที่บ่งบอกถึงความรักที่กล่าวนี้

เครื่องหมายประการแรกคือ เคารพสภาพความเป็นอยู่ทางศาสนาและฝ่ายวิญญาณของผู้ที่เรานำธรรมไปประกาศ เคารพวิ ถีดำรงชีวิตของเขาซึ่งเราไม่มีสิทธิ์จะบังคับจนเกินไป เคารพมโนธรรมและความเชื่อมั่นของเขาซึ่งเร่งรัดฝืนไม่ได้

เครื่องหมายอีกประการหนึ่งที่แสดงความรักก็คือระมัดระวังไม่ทำแสลงใจผู้อื่น เป็นต้นถ้าเขาอ่อนแอในความเชื่อ (เทียบ 1 คร 8 :9-13; รม 14:15) ที่ว่าไม่ทำแสลงใจนั้นหมายความว่าไม่ทำแสลงใจด้วยถ้อยคำยืนยันต่างๆ ซึ่งอาจจะเป็นที่เข้าใจชัดเจน สำหรับผู้ที่รู้เรื่อง แต่สำหรับสัตบุรุษสามัญแล้วอาจจะเป็นเรื่องก่อความปั่นป่วนและเห็นเป็นเรื่องอื้อฉาว เหมือนกับเป็นบาดแผลในจิตใจก็ได้

เครื่องหมายอีกประการหนึ่งที่แสดงความรักก็คือพยายามถ่ายทอดถึงคริสตชน มิใช่เรื่องที่ยังสงสัยและไม่แน่ไม่นอน ซึ่งเกิ ดจากความรู้ที่ยังเข้าใจไม่ดี แต่ควรถ่ายทอดให้เขารู้เรื่องที่แน่นอนชัดเจน เพราะยึดมั่นอยู่ในพระวาจาของพระเป็นเจ้า สัตบุรุษต้ องการรู้เรื่องแน่นอนเหล่านี้ เพื่อดำรงชีวิตแบบคริสตชน และเขาก็มีสิทธิ์ในเรื่องเหล่านี้ในฐานะเป็นลูกของพระเป็นเจ้า ที่มอบตัวอย่างสิ้นเชิงไว้ในอ้อมพระกรของพระองค์ เพราะมีความรัก

ร้อนรนอย่างนักบุญ

80. คำขอร้องของเราได้รับแรงบันดาลใจจากความร้อนรนของผู้เทศน์และผู้ประกาศพระวรสารคนสำคัญ ๆ ที่ได้อุทิศชีวิตใ ห้แก่การแพร่ธรรม ในจำนวนบุคคลเหล่านี้ เราใคร่กล่าวถึงบางท่านที่เราได้ตั้งใจระหว่างปีศักดิ์สิทธิ์ให้เป็นนักบุญให้สัตบุรุษเคารพ ท่านเหล่านี้ได้เอาชนะอุปสรรคมากมายที่ขัดขวางงานประกาศพระวรสาร

ยุคของเราในทุกวันนี้มีอุปสรรคมากมายเช่นเดียวกัน แต่เราจะกล่าวถึงอุปสรรคประการเดียวเท่านั้น คือเรื่องขาดความร้อ นรน การขาดความร้อนรนนี้เป็นเรื่องร้ายแรงเพราะเกิดจากภายในตัวเรา และแสดงออกมาเป็นความเหน็ดเหนื่อย ความง่วงเหงา ความรู้สึกจำเจ ความไม่ยินดียินร้าย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งความเศร้าโศกและความสิ้นหวัง ฉะนั้น เราขอเตือนบรรดาท่านที่มีห น้าที่ประกาศพระวรสารในฐานะใดฐานะหนึ่ง หรือในระดับใดระดับหนึ่ง จงพยายามหล่อเลี้ยงความร้อนรนฝ่ายวิญญาณไว้ (เทียบ รม 12 : 11)

เช่นกัน พวกเราได้ยินคนพูดบ่อยๆ เป็นทำนองต่างๆ ว่า การบังคับให้เชื่อความจริง แม้แต่ความจริงในพระวรสาร หรือการ บังคับให้เดินทาง แม้แต่ทางไปสวรรค์ก็นับเป็นการละเมิดเสรีภาพในการถือศาสนา เขายังเสริมว่าอันที่จริง จะประกาศพระวรสารไปทำไม เพราะถ้ามีใจซื่อตรงเสียอย่าง ใครๆ ก็รอดได้ อีกประการหนึ่ง เราทราบดีว่า โลกและประวัติศาสตร์เต็มไปด้วย “เมล็ด พืชพันธุ์ของพระวจนาตถ์” ดังนั้น การอ้างว่าจะนำพระวรสาร ไปประกาศในที่ที่พระวรสารอยู่ในเมล็ดพืชพันธุ์ที่พระเป็นเจ้าได้ทรงหว่านไว้แล้ว จะมิเป็นการหลอกตัวเองดอกหรือ

ในเอกสารของสภาสังคายนา ถ้าผู้ใดอุตสาห์ศึกษาปัญหาต่าง ๆ ที่คนแก้ตัวนำมาอ้างโดยไม่คิดดี ๆ ก็จะเห็นความจริงเป็นอีกอย่างหนึ่งอย่างสิ้นเชิง

แน่นอน เป็นความผิดที่จะบังคับให้พี่น้องของเราเชื่อไม่ว่าจะเป็นเรื่องอะไรทั้งสิ้น แต่การเสนอให้เขาเชื่อความจริงในพระว รสารและความรอดในองค์พระเยซูเจ้าโดยอธิบายอย่างแจ่มแจ้งและโดยเคารพความสมัครใจของเขาอย่างจริงจัง พร้อมกับพยายามละเว้นไม่ทำกิจการใดที่มีลักษณะไปในทางบังคับหรือเกลี้ยกล่อมอย่างไม่สุจริตหรือไม่สู้จะซื่อตรงนัก (คำแถลงว่าด้วยเสรีภาพใ นการถือศาสนา...ข้อ 4) ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งต่างกันมาก ไม่ใช่เป็นการละเมิดเสรีภาพในการถือศาสนา แต่เป็นการแสดงความเ คารพต่อเสรีภาพ ที่ได้รับการเสนอให้เลือกเอาทางหนึ่ง ซึ่งแม้แต่คนที่ไม่มีความเชื่อในพระเป็นเจ้าก็สามารถยอมรับนับถือและยกย่องได้
ดังนั้น เป็นการทำผิดต่อเสรีภาพของผู้อื่นหรือ ถ้าจะแสดงความยินดีประกาศข่าวประเสริฐที่เราเพิ่งทราบโดยพระมหากรุณาธิคุณของพระเป็นเจ้า และทำไมมีแต่ความโป้ปดมดเท็จและความหลงผิด ความเสื่อมเสียและความลามกเท่านั้น ที่การโฆษณาแบบท ำลายของสื่อมวลชนการปล่อยปละละเลยของกฎหมาย ความขาดตาขาวของคนดีและความหน้าด้านของคนชั่ว ที่มีสิทธิ์นำไปแนะสอนและอนิจจา บ่อยครั้งเอาไปเสนอยัดเยียดให้แก่ชาวบ้านชาวเมืองได้ การเสนอพระคริสตเจ้ากับพระราชัยของพระองค์ด้วยควา มเคารพเช่นนี้ เป็นยิ่งกว่าสิทธิ์ของผู้ประกาศพระวรสารเสียอีก เป็นหน้าที่ของเขาทีเดียว! และเป็นสิทธิ์ของพี่น้องมนุษย์ด้วย ที่จะรั บการประกาศข่าวประเสริฐแห่งความรอดของเขา ความรอดนี้พระเป็นเจ้าจงประทานแก่ผู้ที่พระองค์พอพระทัยด้วยวิธีพิเศษที่พระองค์ทรงทราบแต่องค์เดียวก็ได้

อย่างไรก็ตาม การที่พระบุตรของพระองค์เสด็จมาในมนุษยโลกนั้น ก็เพื่อเผยให้เราทราบถึงหนทางปรกติที่ไปสู่ความหลุดร อดพ้น เผยด้วยพระวาจาและการดำรงพระชนม์ชีพของพระองค์นั่นเอง และพระองค์ทรงสั่งให้เราเผยเรื่องนี้ให้คนอื่นทราบ ๆ ต่อไปด้วยอำนาจอย่างเดียวกับพระองค์ น่าจะเป็นการดีมีประโยชน์ ถ้าประกาศพระวรสารและคริสตชนทุกคนจะเอาความคิดต่อไปนี้ตรึ กตรองให้ซึ้งเวลาภาวนา คือ มนุษย์เอาตัวรอดได้ด้วยหนทางอื่นเหมือนกันโดยพระเมตตาของพระองค์ แม้เราไม่นำพระวรสารไปประกาศให้เขารู้ก็ตาม แต่สำหรับเราเราจะเอาตัวรอดได้หรือ ถ้าเราละเว้นไม่ไปประกาศพระวรสาร เพราะละเลย กลัว หรือเหมือน ที่นักบุญเปาโลเรียกว่า “ละอายต่อข่าวดี” (รม 1 : 16) หรือเพราะมีความคิดผิด ประพฤติเช่นนี้ น่าจะเป็นการทรยศต่อกระแสเรีย กของพระเป็นเจ้า ซึ่งทรงมีพระประสงค์ให้เมล็ดพืชพันธุ์งอกออกผลขึ้นด้วยเสียของผู้รับใช้พระวรสารและการที่เมล็ดพืชนี้จะกลายเป็นต้นไม้ใหญ่จนออกผลเต็มเม็ดเต็มหน่วยหรือไม่นั้น ก็เป็นเรื่องสุดแล้วแต่เรา

ฉะนั้น เราจงรักษาความร้อนรนในใจไว้ จงรักษาความชื่นชอบอันชุบชูใจและชื่นใจที่จะประกาศพระวรสารแม้ว่าจะต้องหว่า นพร้อมกับหยาดน้ำตา ขอให้ภายในตัวเราเหมือนกับภายในตัวนักบุญยอห์นบัปติสต์ นักบุญเปโตรและเปาโลอัครธรรมทูตอื่นๆ ตลอดจนผู้ประกาศพระวรสารที่น่าสรรเสริญอีกมายมายตลอดประวัติศาสตร์พระศาสนจักร-ขอให้มีความเร่าร้อนซึ่งไม่มีใครและไม่มี อะไรจะดับได้ ขอความชื่นชมยินดีดังกล่าวเป็นความชื่นชมปิติอย่างใหญ่หลวงในชีวิตของเราที่อุทิศแล้ว และขอให้โลกในยุคของเ รา ซึ่งบางทีก็มาหาด้วยความกระวนกระวายบางทีก็มาหาความหวังได้รับข่าวประเสริฐ มิใช่จากผู้ประกาศพระวรสารที่เป็นคนเซื่อ งซึม ท้อแท้ใจ หงุดหงิดหรือกระวนกระวาย แต่ขอให้รับจากผู้รับใช้พระวรสารที่ชีวิตสุกใสด้วยความร้อนรน เป็นคนที่ได้รับความชื่ นชมยินดีของพระคริสตเจ้ามาก่อน และบัดนี้ยินดีจะเสี่ยงชีวิตเพื่อประกาศพระราชัย และปลูกฝังพระศาสนจักรขึ้นในใจกลางโลก