ประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน

Evangelii Nuntiandi

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

ผู้ที่จะรับการประกาศพระวรสาร

           ได้แก่มนุษย์ทั้งโลก

49. พระวาจาสุดท้ายของพระเยซูเจ้าในพระวรสารของนักบุญมารโกสั่งบ รรดาอัครธรรมทูต ซึ่งได้รับมอบหมายให้ประกาศพระวรสาร ให้ไปทั่วพิภพโดยไม่มีเขตแดนขวางกั้นตามที่พระองค์ตรัสว่า “ท่านทั้งหลายจงออกไปทั่วโลกประกาศข่าวดีให้มนุษย์ทั้งปวง” (มก 16:15)

อัครธรรมทูตทั้งสิบสองกับคริสตชนในยุคแรกได้เข้าใจความหมายของคำสั่งนี้และคำสั่งอื่นที่คล้ายคลึงกัน เขาถือคำสั่งเหล่านั้นเป็นหมายกำหนดการว่าใ ห้ทำอะไร แม้แต่การเบียดเบียนรังแกศาสนา ซึ่งทำให้บรรดาอัครธรรมทูตแยกย้ายกันไป ก็ได้มีส่วนช่วยนำพระวาจาของพระเป็นเจ้าได้แพร่กระจายออกไป และปลูกฝังพระศาสนจักรขึ้นในดินแดนที่ห่างไกลออกไปทุกที การรับนักบุญเปาโลเ ข้าในกลุ่มอัครธรรมทูต และการที่นักบุญเปาโลได้รับพระคุณพิเศษให้เป็นผู้ประกาศการเสด็จมาของพระเยซูเข้าแก่คนนอกศาสนา (ที่มิใช่พวกยิว) นั้น ได้เน้นให้เห็นอย่างชัดขึ้นว่า ต้องประกาศพระวรสารไปทั่วพิภพ

แม้จะมีอุปสรรคนานับประการ

50. ตลอดเวลา 20 ศตวรรษที่ผ่านมา คริสต์ศาสนิกชนต้องประเชิญเป็นครั้งเป็นคราวกับอุปสรรคต่างๆ ที่ขัดขวา งมิให้นำพระวรสารไปประกาศทั่วพิภพ โดยทางด้านหนึ่งบรรดาผู้ประกาศพระวรสารเองก็นึกอยากจะลดดินแดนปฏิบัติงานธรรมทูตให้ลดน้อยลงโดยมีข้ออ้างต่างๆ ส่วนอีกทางหนึ่งนั้น ผู้ที่รับการประกาศพระวรสารมักทำการต่อต้านในลักษณ ะที่มนุษย์ลงความเห็นว่า ไม่มีทางจะเอาชนะได้ นอกจากนั้นเราจำต้องกล่าวด้วยความเศร้าใจว่า งานประกาศพระวรสารของพระศาสนจักรถูกเจ้าหน้าที่บ้านเมืองขัดขวางห้ามปรามหรือไม่ก็ถูกกีดกันอย่างรุนแรง และแม้ในทุกวันนี้เอง ผู้ประ กาศพระวาจาของพระเป็นเจ้าก็ถูกลิดรอนสิทธิ์ถูกรังแกถูกขู่เข็ญและถูกกำจัด เพราะเหตุแต่ประการเดียว คือ เขาประกาศองค์พระเยซูคริสตเจ้าและพระวรสารของพระองค์ แต่เราหวังว่าแม้จะมีทารุณกรรมทำนองนี้งานของผู้แพร่ธรรมเหล่า นี้จะไม่ล้มเหลวลงในดินแดนส่วนใดของโลก

แม้จะได้รับเคราะห์กรรมเช่นนี้ พระศาสนจักรก็ยังปลุกแรงดลใจในส่วนลึกที่สุดให้ตื่นขึ้นอยู่ตลอดเวลา แรงดลใจ นั้นมาจากพระอาจารย์โดยตรง ตามที่พระองค์ทรงสั่งว่า “ไปทั่วโลก...ไปหามนุษย์ทุกรูปทุกนาม...ไปจนสุดปลายพิภพ” พระศาสนจักรได้ปลุกแรงดลใจในส่วนลึกให้ตื่นขึ้นอีกครั้งหนึ่งในการประชุมสมัชชาพระสังฆราชคราวที่แล้ว นับเป็นกา รเรียกร้องมิให้จำกัดการประกาศพระวรสาร คือ ประกาศแก่มนุษย์เพียงกลุ่มหนึ่งหรือคนเพียงชั้นหนึ่ง หรือวัฒนธรรมเพียงแบบหนึ่ง จะยกสองสามตัวอย่างมาแสดงให้เห็น

ประกาศพระวรสารครั้งแรกแก่ผู้ที่ไม่รู้จักพระ

51. ตั้งแต่เช้าวันพระจิตตาคม หมายกำหนดการที่พระศาสนจักรใช้โดยถือว่าได้รับมาจากพระผู้ตั้ง คือ เผยองค์ พระเยซูคริสตเจ้ากับพระวรสารของพระองค์แก่บรรดาผู้ที่ไม่รู้จักพระองค์และพระวรสาร พระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ทั้งหมดโดยเฉพาะอย่างยิ่งหนังสือกิจการของอัครธรรมทูตบอกเป็นพยานยืนยันถึงเวลาครั้งหนึ่ง ซึ่งเหมือนกับเป็นตัวอย่ างความพยายามที่จะทำงานธรรมทูต และความพยายามเช่นนี้ต่อไปจะปรากฏมีอยู่ในประวัติของพระศาสนจักรทุกๆ สมัย

พระศาสนจักรทำการประกาศพระเยซูคริสตเจ้าครั้งแรกนี้ด้วยวิธีการต่างๆ ซึ่งบางทีก็เรียกว่า “การเตรียมงานประกาศพระวรสาร” แต่ก็นับว่าเป็นการประกาศพระวรสารอย่างแท้จริงแล้ว แม้ว่าอยู่ในขั้นเริ่มต้นและยังไม่ครบถ้วน วิธีการต่างๆ หลายอย่างเกือบนับไม่ถ้วนอาจนำมาใช้เพื่อจุดหมายนี้ได้ เป็นต้นว่าเทศน์อย่างเปิดเผยใช้ศิลปะศาสตร์กา รคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และปรัชญาการอ้างความรู้สึกของจิตใจมนุษย์อย่างถูกต้อง

ประกาศพระวรสารแก่หมู่ชนที่ทิ้งคริสตศาสนา

52. การประกาศพระวรสารครั้งนี้เป็นการประกาศเป็นพิเศษแก่ผู้ที่มิเคยได้ยินข่าวประเสริฐของพระเยซูเจ้าหรื อแก่พวกเด็ก แต่เนื่องจากมีผู้ละเลยคริสตศาสนาบ่อยๆ ในทุกวันนี้ การประกาศพระวรสารจึงเป็นสิ่งจำเป็นเช่นเดียวกันสำหรับหมู่ชนมากมายที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว แต่ไม่ดำรงชีวิตแบบคริสตชนเลย จำเป็นสำหรับคนซื่อๆ ซึ่งมีความเชื่ออยู่ บ้างแต่ไม่สู้รู้รากฐานของความเชื่อนี้ จำเป็นสำหรับปัญญาชน ที่รู้สึกต้องการรู้จักพระคริสตเจ้าให้ดีกว่าเมื่อเขาได้รู้ตอนเด็ก และจำเป็นสำหรับคนอื่นๆ อีกเป็นอันมาก

ศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา

53. การประกาศครั้งแรกนี้ยังเป็นการประกาศแก่คนจำนวนมากมายเหลือคณนานับ ซึ่งนับถือศาสนาอื่นอันมิใช่ค ริสตศาสนา เป็นการแสดงออกซึ่งความรู้สึกของวิญญาณฝูงชนจำนวนมากมาย ศาสนาเหล่านี้เป็นเสียงร้องย้ำบอกว่าบรรดาชนนั้นได้แสดงหาพระเป็นเจ้าเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว เป็นการแสวงหาที่ไม่จบแต่โดยมากกระทำด้วยความจริงใ จและใจซื่อ ศาสนาเหล่านี้มีมรดกอันน่าประทับใจเป็นหนังสือที่ซึมซาบด้วยความศรัทธาเลื่อมใส ได้สอนมนุษย์เป็นเวลาหลายชั่วคนให้รู้จักภาวนา ได้รับ “เชื้อพืชพันธุ์ของพระวจนาตถ์” (สมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรมทูตแห่งพระศาสนจักร ข้ อ 11 ; สังฆธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักรข้อ 17) ซึ่งมีมากนับไม่ถ้วนและอาจนับเป็น “การเตรียมรับพระวรสาร” (สังฆธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักรข้อ 10) ตามคำเหมาะสมคำหนึ่งที่สภาสังคายนาวาติกันที่ 2 เคยใช้และยืมมาจากท่านเอวเซ บีโอ แห่งเมืองซีซีรียาแน่ละภาวการณ์เช่นนี้ย่อมเป็นเหตุให้เกิดปัญหาละเอียดอ่อนและสลับซับซ้อน ซึ่งต้องศึกษาโดยใช้ประเพณีคริสต์ที่ตกทอดมาและอำนาจในการสอนของพระศาสนจักรเป็นหลักแล้ว บรรดาธรรมทูตในปัจจุบันและอนาคต จะได้มีแนวทางใหม่ เพื่อติดต่อกับศาสนาที่มิใช่คริสตศาสนา เราใคร่เน้นเป็นพิเศษในวันนี้ว่า แม้นับถือและยกย่องศาสนาเหล่านี้ และแม้ปัญหาต่างๆ สลับซับซ้อนกัน พระศาสนจักรก็ไม่คิดจะนิ่งไม่ประกาศองค์พระเยซูคริสตเจ้าแก่คนที่มิใ ช่คริสตชน ตรงกันข้ามพระศาสนจักรเห็นว่าชนเหล่านี้มีสิทธิ์จะรู้ความมั่งคั่งของธรรมอันล้ำลึกแห่งพระคริสตเจ้า (เทียบ อฟ 3:8) เราเชื่อว่า ในธรรมล้ำลึกดังกล่าว มนุษย์ชาติทั้งมวลจะพบอะไรทุกอย่างที่เขาคลำหาเกี่ยวกับพระเป็นเจ้า มนุษ ย์ ชะตากรรมของมนุษย์ ชีวิต ความตายและความจริง และจะพบความสมบูรณ์อันไม่คาดคิดแม้คนศาสนาอื่นจะแสดงความเลื่อมใสทางศาสนาน่านิยมสักเพียงใด พระศาสนจักรก็หนุนว่าศาสนาของพระเยซูเจ้าซึ่งพระศาสนจักรประกาศด้วยก ารประกาศพระวรสารนั้นทำให้มนุษย์มีความสัมพันธ์กับแผนการ การประทับอยู่ของพระเป็นเจ้า และการกระทำของพระเป็นเจ้า ดังนั้นพระศาสนจักรเป็นชนวนให้เกิดการพบกับพระเป็นเจ้าผู้เป็นพระบิดาที่มีพระทัยเมตตาต่อมนุษยชาติ หรื อกล่าวอีกนัยหนึ่ง ศาสนาของเราทำให้เรามีสายสัมพันธ์กับพระเป็นเจ้าอย่างแท้จริงและอย่างจริงจังในชีวิต ซึ่งความสัมพันธ์เช่นนั้นศาสนาอื่นไม่สามารถทำให้มีขึ้นได้ แม้จะพยายามเอื้อมไขว่คว้าที่จะพบพระเบื้องบนสวรรค์

เพราะเหตุนี้ พระศาสนจักรจึงรักษาจิตตารมณ์ธรรมทูตไว้ให้ร้อนรน ยิ่งกว่านั้นยังอยากบำรุงให้เข้มข้นในยุคที่เร าดำรงชีวิตอยู่นี้ พระศาสนจักรรู้สึกตัวว่าต้องรับผิดชอบต่อชาติต่างๆ พระศาสนจักรจะอยู่อย่างสงบไม่ได้ตราบใดที่มิได้ทำอย่างสุดความสามารถ ในการประกาศข่าวประเสริฐของพระเยซู พระผู้ช่วยให้รอดของเรา พระศาสนจักรกำลังเตรียมผ ู้แพร่ธรรมรุ่นใหม่ๆ อยู่เสมอ ให้เรารับรู้ข้อนี้ด้วยความชื่นชมในเวลานี้ ที่มีคนหลายๆ คนคิดและพูดว่า ความกระตือรือร้นและร้อนรนในการแพร่ธรรมเหือดหายไปแล้ว และเวลาส่งธรรมทูตไปแพร่ธรรมก็สิ้นสุดลงแล้วด้วย แต่สมัชชาพระสัง ฆราชตอบว่า การประกาศพระวรสารของธรรมทูตยังไม่หยุด และพระศาสนจักรจะพยายามทำการประกาศพระวรสารต่อ ๆไปโดยไม่หยุดยั้ง

เครื่องค้ำจุนความเชื่อของสัตบุรุษ

54. อย่างไรก็ดี พระศาสนจักรสำนึกเสมอในความรับผิดชอบห่วงใยต่อผู้ที่ได้รับความเชื่อและรู้จักพระวรสาร บา งกลุ่มนับตั้งหลายชั่วคนมาแล้ว ดังนั้นพระศาสนจักรจึงพยายามหล่อเลี้ยงบำรุงความเชื่อของผู้ที่เราเรียกว่า สัตบุรุษ หรือ ผู้มีความเชื่อแล้ว ให้ลึกซึ้ง มั่นคงและสุขุม เพื่อให้เขามีความเชื่อแก่กล้ายิ่ง ๆ ขึ้น

ทุกวันนี้ ความเชื่อดังกล่าวต้องประเชิญกับลัทธิโลกนิยม (Secularism) หรือลัทธิอเทวนิยมเกือบตลอดเวลาเป็น ความเชื่อที่ถูกเคี่ยวเข็ญและขู่เข็ญ ยิ่งกว่านั้นเป็นความเชื่อที่ถูกล้อมสกัดและต่อต้านอย่างหนักหน่วง ถ้าไม่ได้รับการห ล่อเลี้ยงและค้ำจุนอยู่ทุกๆ วัน ก็น่ากลัวความเชื่อดังกล่าวจะเหี่ยวแห้งตายหายไป เพราะฉะนั้น ที่ว่าประกาศพระวรสารนั้น บ่อยครั้งทีเดียวหมายความว่าต้องหล่อเลี้ยงค้ำจุนความเชื่อของสัตบุรุษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยคำสอนที่มีน้ำหล่อเลี้ยง ของพระวรสารและใช้ภาษาที่เหมาะกับยุคและผู้ฟัง

ในทำนองเดียว พระศาสนจักรคาทอลิกมีความห่วงใยเป็นอย่างยิ่งต่อคริสตชนที่ไม่ได้ร่วมในความเป็นอันหนึ่งอั นเดียวกับตนอย่างสมบูรณ์ ในขณะเดียวกันกับที่เตรียมการรวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับเขาตามที่พระคริสตเจ้าทรงปรารถนา และเพื่อทำให้ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวเกิดขึ้นอย่างแท้จริง พระศาสนจักรคาทอลิกสำนึกว่า จะทำผิดต่อหน้าที่อย่า งร้ายแรง ถ้าไม่เป็นพยานต่อพวกเขาต่อข้อไขแสดงทั้งหมด ที่พระเป็นเจ้าฝากไว้กับตนด้วย

ผู้ไม่มีความเชื่อ

55.สมัชชาพระสังฆราชครั้งสุดท้ายยังได้แสดงความห่วงใยเป็นอันมากต่อเรื่องสองเรื่องที่เกี่ยวกับมนุษย์กิจการ ของมนุษย์ซึ่งแตกต่างกันมาก แต่คล้ายคลึงกันทีเดียวในการทำท้าทายการประกาศพระวรสาร

เรื่องแรก คือ เรื่องจำนวนของผู้ที่ไม่เชื่อนับวันยิ่งมากขึ้นในโลกปัจจุบัน สมัชชาพระสังฆราชพยายามบรรยายลัก ษณะของโลกสมัยใหม่ที่กล่าวนี้ คือที่เรียกรวมว่า “โลกสมัยใหม่” นั้นหมายถึงแนวความคิด คุณธรรมอันมีค่าแท้และความใฝ่ฝันอันเร้นลับ หรือเชื้อแห่งการทำลายความเชื่อถือเก่าที่สูญไป และความเชื่อถือใหม่ที่เกิดขึ้นในด้านจิตใจ โลกสมั ยใหม่นี้ดูเหมือนหมกมุ่นอยู่ในสิ่งที่นักเทวศาสตร์ผู้หนึ่งในสมัยนี้เรียกว่า “นาฎกรรมของลัทธิมนุษยนิยมแบบ อเทวนิยม : Le drame de l’humanisme athee” (Henri de Lubac)

ในทางด้านหนึ่ง จำเป็นต้องมองเห็นว่า ในท่ามกลางโลกสมัยนี้มีปรากฏการณ์ประการหนึ่ง ซึ่งกลายเป็นลักษณะเ ด่นของโลก : ปรากฏการณ์นั้นคือลัทธิโลกนิยม (Secularism) ลัทธิโลกนิยมที่เรากล่าวถึงในที่นี้ไม่หมายถึงการกระทำไปตามแนวนิยมของโลก (Secularization) ซึ่งเป็นความพยายามที่จะค้นหาว่า ในสิ่งสร้างต่างๆ ในสิ่งของแต่ละอัน แ ละในเหตุการณ์แต่ละอย่าง มีกฎอะไรในตัวของมันเองที่บังคับอยู่ โดยมีความเชื่อมั่นในใจว่าพระเป็นเจ้าได้วางกฎไว้ในสิ่งเหล่านั้น ความพยายามเช่นนี้นับเป็นสิ่งที่ชอบและเข้ากันได้ดีกับความเชื่อหรือศาสนาที่ประชุมสังคายนาคราวที่แล้ว ก็ได้ยืนยันว่า วัฒนธรรมและโดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาความรู้มีความเป็นอิสระแก่ตนเองโดยชอบ และไม่จำเป็นต้องขึ้นกับศาสนา (สังฆธรรมนูญ เรื่องพระศาสนจักรในโลกสมัยนี้ ข้อ 59) ในที่นี้เรากล่าวถึงลัทธิโลกนิยมแบบแท้จริง คือแบบที่เ ข้าใจว่าโลกแปลได้ด้วยตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งพระเป็นเจ้า พระเป็นเจ้าเลยกลายเป็นสิ่งเกินต้องการและเกะกะไป ลัทธิโลกนิยมแบบนี้ยกย่องอำนาจความสามารถของมนุษย์ ถึงกับว่าในที่สุดก็ทิ้งพระเป็นเจ้าและถึงกับปฎิเสธพระองค์
อเทวนิยมแบบใหม่ๆ เช่น อเทวนิยมถือมนุษย์เป็นใหญ่ แต่ไม่เชื่อถือเช่นนั้นในความคิดหรือในอภิปรัชญาเสียแล้ว แต่ถือกันในการปฏิบัติ ในการวางแผนและในการแสดงออกมาอย่างแข็งขัน อเทวนิยมแบบใหม่เหล่านี้ดูเหมือนสืบเนื่องมาจ ากลัทธิบริโภคนิยมนี้เอง ทุกวันเราต้องเผชิญกับลัทธิบริโภคนิยมในรูปแบบต่างๆ ซึ่งเกี่ยวโยงอย่างแนบแน่นต่ออเทวนิยมการแสวงหาความสนุกโดยถือเป็นสิ่งที่มีคุณค่าสูงสุด ความปรารถนาอยากมีอำนาจและครองความเป็นใหญ่ การแบ่ งแยกถือเขาถือเราทุกชนิดนั่นแหละคือความโน้มเอียงที่ไม่มีมนุษยธรรมซึ่งเกิดจาก “ลัทธิมนุษยนิยม” นี้เอง

ในอีกด้านหนึ่งโลกสมัยใหม่อันเดียวกันนี้เองซึ่งอาจดูเป็นเรื่องน่าแปลกและไม่น่าเชื่อ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีบางสิ่งที่เ กี่ยวโยงระหว่างคุณค่าในคริสต์ศาสนาหรืออย่างน้อยก็เป็นคุณธรรมแบบพระวรสารกับความรู้สึกอันว่างเปล่าและความไม่พอที่เกาะกินใจมนุษย์เราอยู่ คงไม่เป็นการพูดเกินความจริงที่จะกล่าวว่า ยังการเรียกร้องอย่างแข็งขัน ขอให้มีการประกาศพระวรสาร

คนไม่ปฏิบัติศาสนา

56. ในอีกด้านหนึ่งคือปัญหาของพวกที่ไม่ปฏิบัติศาสนา ทุกคนวันนี้มีคนที่ได้รับศีลล้างบาปแล้วเป็นจำนวนมากเ ขาไม่ปฏิเสธศีลล้างบาปที่เขาได้รับเสียทีเดียว แต่แสดงความเฉยเมยอย่างสิ้นเชิง และไม่เจริญชีวิตให้สมกับผู้ได้รับศีลล้างบาป พฤติการณ์ของผู้ที่ละเลยหน้าที่แบบนี้เคยมีในประวัติพระคริสต์ศาสนาแต่โบราณกาลมาแล้ว เกิดขึ้นเพราะควา มอ่อนแอตามธรรมชาติของมนุษย์เรา และเพราะความใจโลเลซึ่งฝังลึกในจิตใจมนุษย์ อย่างไรก็ดี การไม่ปฏิบัติศาสนา ดังกล่าวในทุกวันนี้มีลักษณะใหม่อีกประการบ่อยครั้งอธิบายได้ด้วยความจริงอันเป็นเอกลักษณ์ สมัยของเราที่ว่าเราไม่มี รากฐาน และอีกประการหนึ่งเป็นเพราะคริสตชนอยู่ใกล้ผู้ไม่มีความเชื่อ และได้รับผลสะท้อนจากพฤติกรรมของผู้ไม่มีความเชื่ออยู่เสมอๆ อนึ่งคนไม่ปฏิบัติศาสนาในสมัยนี้ยังแก้ตัวมากกว่าในสมัยก่อน พยายามอธิบายและชี้ให้เห็นว่าทัศนะ ของเขาถูกต้อง โดยอ้างว่าเขามีศาสนาในใจ ต้องมีสิทธิปกครองตนเองและเป็นตัวของตนเอง

พวกอเทวนิยมกับคนไม่มีความเชื่อฝ่ายหนึ่งกับคนไม่ปฏิบัติศาสนาอีกฝ่ายหนึ่ง ทั้งสองฝ่ายนี้ขัดขวางการประกาศ พระวรสารมิใช่น้อย การขัดขวางของฝ่ายแรกเป็นไปในแบบปฏิเสธไม่เข้าใจระเบียบใหม่ของสิ่งต่างๆ ความหมายใหม่ของโลก ชีวิตและประวัติศาสตร์ ซึ่งจะเกิดขึ้นไม่ได้ถ้าไม่ถือพระเป็นเจ้าผู้เป็นองค์สัมบูรณัตต์เป็นหลัก การขัดขวางของ ฝ่ายหลังเป็นไปในแบบเฉื่อยชามีลักษณะท่าทีก้าวร้าวของคนที่รู้สึกตัวว่าตนเป็นคนในบ้าน อ้างว่ารู้ทุกอย่าง ได้ลองดูทุกอย่าง แต่ไม่เชื่อถืออะไรอีกแล้ว

การไม่เชื่อศาสนาใดๆ แบบอเทวนิยม และการทิ้งกิจปฏิบัติศาสนานั้น จะพบได้ในพวกผู้ใหญ่ คนหนุ่มสาวบรรดา ผู้นำและสามัญชน ในทุกระดับชนชั้น และในบรรดาคริสตจักรต่างๆ ทั้งเก่าและใหม่ งานประกาศพระวรสารของศาสนจักรไม่ควรเมินเฉยต่อบุคคลสองกลุ่มนี้ และจะหยุดอยู่เมื่อประจันหน้าไม่ได้ จะต้องหาวิธีและภาษาที่เหมาะสำหรับเสนอใ นกลุ่มหนึ่งและปลุกเร้าอีกกลุ่มหนึ่งในเรื่องที่พระเป็นเจ้าไขแสดงและความเชื่อในองค์พระเยซูคริสตเจ้า

ประกาศพระวรสารแก่ฝูงชน

57. เช่นเดียวกับพระคริสตเจ้าในสมัยที่ทรงประกาศเทศนา เช่นเดียวกับบรรดาอัครธรรมทูตในเช้าวันพระจิตตา คม พระศาสนจักรก็เห็นฝูงชนมากมายล้นหลามซึ่งต้องการพระวรสารและก็มีสิทธิ์จะได้พระวรสาร เพราะเหตุว่าพระเป็นเจ้า “ทรงปรารถนาให้มนุษย์ทุกคนได้รอดพ้นและให้มารู้จักความจริง” (1 ทธ 2 : 4)

พระศาสนจักรสำนึกถึงหน้าที่ต้องประกาศความรอดแก่มนุษย์ทุกคน ทราบว่าสาระของพระวรสารมิได้สงวนไว้สำ หรับบางคนผู้มีเอกสิทธิ์และผู้เลือกสรรจำนวนไม่กี่คนเท่านั้น แต่มีไว้สำหรับมนุษย์ทุกคน พระศาสนจักรก็มีความกระวนกระวายใจเช่นพระคริสตเจ้าเมื่อเห็นฝูงชนเดินเร่ร่อนและอ่อนระโหย “ประดุจฝูงแกะที่ไม่มีคนเลี้ยง” และพูดย้ำเหมือนพระองค์ว่า “เราสงสารฝูงชนเหล่านี้” (มธ 9 :36-37; 15:32)

แต่พระศาสนจักรก็สำนึกด้วยว่า เพื่อให้การประกาศพระวรสารเกิดผล จะต้องประกาศพระวรสารไปถึงกลางฝูงช นและถึงกลุ่มสัตบุรุษ ซึ่งกิจการของเขาสามารถและต้องไปถึงผู้อื่น

กลุ่มพระศาสนจักรขั้นพื้นฐาน

58. การประชุมสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่แล้วได้แสดงความสนใจเป็นอันมากต่อกลุ่มคริสตชนกลุ่มหนึ่ง ที่เรียกว่า “กลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐาน” (Communautes de base) เพราะในพระศาสนจักรทุกวันนี้มีการกล่าวถึงกลุ่มคริสตชนเหล่านี้อยู่บ่อยๆ กลุ่มคริสตชนเหล่านี้เป็นอะไร และทำไมจะได้รับการประกาศพระวรสารเป็นพิเศษ ทั้งในขณะเดียวกันจะเป็นผู้ประกาศพระวรสารด้วย

ตามคำกล่าวยืนยันต่างๆ ซึ่งได้ยินพูดในที่ประชุมสมัชชาพระสังฆราช กลุ่มคริสตชนเหล่านี้เจริญรุ่งเรืองมากบ้าง น้อยบ้างในพระศาสนจักร กลุ่มคริสตชนเหล่านี้แม้ในถิ่นเดียวกัน ก็ต่างกันมาก และถ้าต่างถิ่นกันก็ยิ่งต่างกันมากขึ้น ในบางถิ่น กลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐานเกิดและเจริญขึ้นภายในพระศาสนจักรทิ้งสิ้นแทบไม่มีกรณียกเว้นมีส่วนร่วมในชีวิตขอ งพระศาสนจักรหล่อเลี้ยงตนด้วยคำสอนของพระศาสนจักรและมีความผูกพันกับผู้อภิบาลของพระศาสนจักร ถ้าเป็นตามที่กล่าวมา กลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐานเหล่านี้เกิดขึ้นเพราะต้องการจะมีชีวิตของพระศาสนจักรอย่างเข้มข้มยิ่งขึ้น หรือมิฉ ะนั้น ก็เพราะอยากเจริญชีวิตให้เหมาะสมกับตนยิ่งขึ้น ซึ่งลักษณะเช่นนั้นกลุ่มคริสตชนที่ใหญ่กว่ามีได้ยาก เป็นต้นในเมืองใหญ่ๆ ที่มีคนมากและไม่รู้จักกัน กลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐานนี้อาจขยายออกได้ โดยมีแบบดำเนินชีวิตของตนทั้งทางจิ ตใจและศาสนา กลุ่มคริสตชนเล็กๆ เช่นหมู่บ้านสามารถทำได้เช่นกัน อาทิ การคารวะพระเจ้า มีความเชื่อแน่นแฟ้นรักกันฉันพี่น้อง ภาวนา ชิดสนิทกับผู้อภิบาล แต่ทำตามแบบฉบับของตน หรือว่ากลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐานอาจรวบรวมกลุ่มค นที่มีพันธะต้องอยู่ร่วมกันตามอายุ วัฒนธรรม ฐานะทางครอบครัว หรือสภาพสังคม เช่น สามี ภรรยา เยาวชน ผู้มีอาชีพ ฯลฯ ให้มาฟังและรำพึงพิจารณาพระวาจาของพระเป็นเจ้า รีบศีลศักดิ์สิทธิ์และรับประทานอาหารเชื่อมความสัมพันธ์กัน หรืออาจรวบรวมคนที่อยู่ร่วมในการต่อสู้เพื่อความยุติธรรม เพื่อช่วยเหลือคนจนเพื่อส่งเสริมฐานะของมนุษย์ ฯลฯ หรือที่สุดกลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐานดังกล่าวอาจรวบรวมคริสตชนในที่ที่กลุ่มคริสตชนในสังฆตำบลดำรงชีวิตไม่สะดวกเพราะขา ดพระสงฆ์เรื่องทั้งหมดนี้ต้องเป็นที่เข้าใจว่า เกิดขึ้นในกลุ่มคริสตชนที่ตั้งขึ้นโดยพระศาสนจักร เป็นต้น โดยสังฆมณฑลหรือวัดตรงกันข้าม ในถิ่นอื่น มีกลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐานมารวมกันในเชิงไม่พอใจพระศาสนจักร กล่าวหาพระศาสนจักรเ ป็นแค่ “สถาบัน” แล้วทำการขัดขวาง โดยถือว่าตนเป็นกลุ่มที่ได้รับพระพรพิเศษ (Charismatic Community) ไม่ต้องมีโครงสร้าง ได้รับแรงบันดาลใดจากพระวรสารเท่านั้น เช่นนี้ลักษณะของกลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐานดังกล่าวก็คือ ตั้งหน้ าโจมตีและปฏิเสธพระฐานานุกรมของพระศาสนจักร และเครื่องหมายต่างๆ ของพระศาสนจักร ท่าทีนี้คือการต่อต้านรุนแรงอันแท้ต่อพระศาสนจักร เมื่อถือตามแนวนี้ ความคิดอ่านของเขาก็กลายเป็นแบบอุดมการณ์เพ้อฝันสมัยนิยม และเ ป็นไปได้ยากที่มิช้าเขาจะไม่ตกเป็นเหยื่อของลัทธิการเมือง  การแสดงความคิด ระบบหรือแม้แต่พรรคการเมืองซึ่งน่ากลัวจริง ๆ เขาจะต้องกลายเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองนั้น ๆ ไป

ความแตกต่างเห็นได้แล้วอย่างเด่นชัด กลุ่มคริสตชนที่คัดค้าน ตัดตนเองออกจากพระศาสนจักรและทำให้พระศา สนจักรเสียความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันนั้น อาจจะเรียกตนเองว่า “กลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐาน” แต่นั่นเป็นชื่อที่ใช้เรียกทางสังคมเท่านั้น เขาจะเรียกตนเป็นกลุ่มคริสตชนขั้นพื้นฐานไม่ได้ แม้จะอ้างว่ายังอยู่ในเอกภาพของพระศาสนจักรทั้งๆ ที่เป็นปฏิปักษ์ต่อพระฐานานุกรรม ถ้าเขาจะเรียกดังนั้น ก็นับว่าเป็นการใช้คำพูดที่ผิดๆ ชื่อนี้ควรได้แก่กลุ่มคริสตชนอื่นๆ คือ กลุ่มคริสตชนที่รวมเป็นคริสตจักร เพื่อรวมกับพระศาสนจักรและทำให้พระศาสนจักรเติบโตขึ้น

กลุ่มคริสตชนประเภทหลังเหล่านี้แหละจะเป็นสถานที่ประกาศพระวรสาร เพื่อประโยชน์ของกลุ่มคริสตชนที่ใหญ่ กว่า โดยเฉพาะของสังฆมณฑล และจะเป็นความหวังสำหรับพระศาสนจักรสากล ตามที่เราได้กล่าวเมื่อปิดการประชุมสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่แล้ว ถ้าปฏิบัติดังต่อไปนี้ คือ

-เลี้ยงตนด้วยพระวาจาของพระเป็นเจ้า และไม่ยอมถูกครอบงำด้วยเรื่องทางการเมือง หรือลัทธิสมัยนิยม ซึ่งพร้อ มจะแสวงหาประโยชน์จากพลังความสามารถมหาศาลของมนุษย์

-หลีกเลี่ยงการโต้แย้งซึ่งติดเป็นนิสัย ตลอดจนการวิพากษ์วิจารณ์จนเกินไป โดยอ้างว่าต้องการความจริงและการร่วมมือ

-มีความซื่อสัตย์อย่างมั่นคงต่อพระศาสนจักรท้องถิ่นที่ตนสังกัดและต่อพระศาสนจักรสากล ทำเช่นนี้ก็เท่ากับหลี กเลี่ยงอันตรายอันมีอยู่อย่างแท้จริงที่จะทำตัวอยู่โดดเดี่ยว แล้วคิดว่าตนเป็นพระศาสนจักรเที่ยงแท้ แต่พระศาสนจักรเดียวของพระคริสตเจ้า ซึ่งเท่ากับประณามกลุ่มคริสตชนอื่น ๆ

-มีความร่วมเป็นหนึ่งเดียวอย่างจริงใจกับบรรดาจิตตาภิบาล ซึ่งพระเป็นเจ้าประทานแก่พระศาสนจักรและน้อมรั บอำนาจสอน ซึ่งพระจิตแห่งพระคริสตเจ้ามอบให้แก่จิตตาภิบาลเหล่านั้น

-ไม่ทึกทักเอาว่า ตนเป็นผู้เดียวที่ต้องประกาศพระวรสาร หรือเป็นผู้เดียวที่รับฝากพระวรสาร แต่โดยที่สำนึกว่า พ ระศาสนจักรกว้างขวางกว่ามากและมีคุณลักษณะต่างๆ จึงน้อมรับการที่พระศาสนจักรปรากฏให้เห็นทางอื่นในโลก มิใช่เฉพาะแต่ทางเขา

-เจริญก้าวหน้าทุกวันในด้านความสำนึกถึงการแพร่ธรรม ความร้อนรน และความอุทิศตน

-สำแดงให้เห็นว่าเป็นผู้มีใจกว้างสากลในทุกสิ่ง ไม่ใช่คิดถึงแต่พรรคแต่พวก

ถ้าปฏิบัติตามที่กล่าวมานี้ ซึ่งแน่นอนเป็นเรื่องเรียกร้องขอมาก แต่เป็นเรื่องที่กระตุ้นให้กระตือรือร้นอยากทำบรร ดากลุ่มคริสตชนก็จะปฏิบัติถูกต้องตรงกับกระแสเรียกอันสำคัญที่สุด คือ เมื่อใครเป็นผู้ฟังพระวรสารที่มีผู้มาประกาศและเป็นผู้รับประกาศพระวรสารแล้ว ไม่ช้าเขาจะกลายเป็นผู้ประกาศพระวรสารเอง