ประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน

Evangelii Nuntiandi

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

วิธีการประกาศพระวรสาร

               วิธีที่เหมาะสม

40. เมื่อเห็นอย่างแจ่มชัดแล้วว่าสาระของการประกาศพระวรสารมีความสำคัญ ก็ต้องเห็นเช่นเดียวกันว่า วิธีที่จะประกาศพระวรสารก็มีความสำคัญด้วย

ปัญหาเรื่องจะประกาศพระวรสารอย่างไรนั้น ยังคงเป็นปัญหาที่ต้องขบคิดอยู่เสมอเพราะวิธีที่จะประกาศพระวรสารย่อมเปลี่ยนแปลงตามสภาพแวดล้อมต่างๆ เกี่ยว กับเวลา สถานที่ วัฒนธรรม และดังนั้น ตามสภาพแวดล้อมต่างๆ เหล่านี้ดูเหมือนท้าทายว่า เรามีความสามารถที่จะค้นพบและดัดแปลงวิธีการหรือไม่

เป็นหน้าที่โดยเฉพาะของพวกเรา ผู้อภิบาลสัตบุรุษในศาสนจักร ที่จะต้องถือตามสาระของการประกาศพระวรสารอย่างเคร่งครัด อีกทั้งมีความกล้าและฉลาดที่จะค้น หาวิธีอันเหมาะสมและมีประสิทธิภาพสำหรับถ่ายทอดสาระของพระวรสารถึงคนในสมัยของเราในข้อคิดเห็นนี้ เราเพียงแต่จะชี้วิธีการบางอย่าง ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งยวดมิใช่ด้วยเหตุใดก็ด้วยเหตุหนึ่ง

ยืนยันประกาศด้วยแบบดำรงชีวิต

41. เราจะไม่กล่าวย้ำเรื่องที่ได้พูดมาข้างต้นแล้ว แต่ก่อนอื่นเห็นควรเน้นเรื่องต่อไปนี้ คือ พระศาสนจักรถือว่า วิธีประกา ศพระวรสารวิธีแรก คือ เป็นองค์พยานประกาศพระคริสตเจ้าด้วยการดำรงชีวิตแบบคริสตชนอย่างแท้จริง เป็นชีวิตที่อุทิศถวายแ ด่พระเป็นเจ้า พร้อมด้วยความสนิทใกล้ชิดซึ่งไม่มีสิ่งใดจะทำลายได้ และในขณะเดียวกันก็เป็นชีวิตที่อุทิศมอบให้แก่เพื่อนมนุ ษย์ด้วยความร้อนรนอย่างไม่มีขอบเขต เมื่อเร็ว ๆ นี้ เราได้กล่าวแก่ฆราวาสกลุ่มหนึ่งว่า “คนสมัยนี้เต็มใจฟังพยานผู้รู้เห็นยิ่งก ว่าฟังครู หรือถ้าเขาฟังครู ก็เพราะครูเป็นพยานรู้เห็นด้วย” นักบุญเปโตรกล่าวถึงเรื่องนี้อย่างน่าจับใจ เมื่อท่านยกตัวอย่างชีวิต ที่บริสุทธิ์ไม่มีที่ติ ซึ่งแม้ไม่พูดสักคำเดียวก็สามารถชนะแม้แต่ใจของคนที่ไม่ยอมเชื่อพระวาจาของพระเป็นเจ้า  (เทียบ 1 ปต 3:1) ดังนั้นพระศาสนจักรจะประกาศพระวรสารในโลกก่อนอื่นก็ด้วยความประพฤติและแบบดำรงชีวิต คือด้วยการเป็นพยานประกาศพระเยซูคริสตเจ้า โดยถือความซื่อสัตย์ต่อพระองค์โดยถือความ ยากจนและความไม่มีใจผูกพันกับโลกโดยไม่แสดงความสะทกสะท้านต่ออำนาจของโลกนี้ พูดสั้นๆ แต่คำเดียวว่า โดยถือความศักดิ์สิทธิ์

การเทศนาอย่างมีชีวิตจิตใจ

42. ต่อไป เป็นการสมควรที่จะเน้นถึงความสำคัญและความจำเป็นของการเทศนาที่นักบุญเปาโล

กล่าวว่า “จะเชื่อได้อย่างไรถ้าไม่เคยได้ยิน จะได้ยินได้อย่างไรถ้าไม่มีใครประกาศสอน...ดังนั้นความเชื่อจึงมาจากการ ฟัง สิ่งที่ได้ฟังก็มาจากพระวาจาของพระคริสตเจ้า” (รม 10 : 14,17)

แท้จริง การเทศนา หรืออีกนัยหนึ่งการประกาศสาระด้วยคำพูดนี้ เป็นสิ่งจำเป็นซึ่งจะละเว้นเสียมิได้ เราทราบดีว่า คนสมั ยนี้ซึ่งเคยได้ยินการพูดการปราศรัยจนเบื่อแล้วแสดงให้เห็นบ่อยๆ ว่าเบื่อหน่ายที่จะได้ยินใครพูด และที่ร้ายกว่านั้น เป็นคนหูด้า นไม่ได้ยินคนอื่นพูด เรายังทราบอีกว่า นักจิตวิทยา และนักสังคมวิทยาหลายคนมีความเห็นว่า มนุษย์สมัยนี้ได้ผ่านพ้นยุคใช้คำ พูดซึ่งไร้ผลและไร้ประโยชน์ไปแล้วและทุกวันนี้กำลังอยู่ในยุคนิยมรูปภาพ พฤติการณ์เหล่านี้ควรกระตุ้นเราให้ใช้วิธีทันสมัย ซึ่ งในยุคนี้ผลิตขึ้นใช้ในการถ่ายทอดสาระของพระวรสาร อันที่จริง ได้มีผู้พยายามในเรื่องนี้อย่างมีผลดีมาแล้ว เราก็ได้แต่สรรเส ริญและเตือนให้พยายามมากยิ่งๆ ขึ้น อย่างไรก็ตาม ความเหน็ดเหนื่อยซึ่งเกิดจากการพูดอย่างมากมายเสียเปล่าในทุกวันนี้ กับการที่มีสื่อมวลชนเป็นอันมากนั้นไม่ควรทำให้เราคิดว่าอำนาจของคำพูดลดน้อยลง หรือทำให้หมดความไว้ใจในคำพูดนั้น คำ พูดยังคงเหมาะกับยุคของเราอยู่เสมอ เป็นต้นว่าถ้าคำพูดนั้นมีอำนาจของพระเป็นเจ้าอยู่ (เทียบ 1 คร 2 : 1-5) ด้วยเหตุนี้ หลั กความจริงของนักบุญเปาโลที่ว่า “ความเชื่อขึงมาจากการฟัง” (รม 10 :17) จึงเป็นความจริงที่เหมาะกับยุคด้วย : พระวาจาที่ได้ยินนั้นจะชักจูงให้เชื่อ

วจนพิธีกรรม

43. การเทศนาประกาศพระวรสารนี้มีเป็นหลายแบบ ความกระตือรือร้นจะดลใจให้คิดแบบต่างๆ ขึ้นแทบจะไม่มีสิ้นสุด อันที่จริงในชีวิตของมนุษย์พบเหตุการณ์และสภาพการณ์มากมายนับไม่ถ้วน ซึ่งเป็นโอกาสให้เทศน์สอนอย่างระมัดระวังแต่ชัดเจน เพียงแต่มีจิตใจรู้สึกไวเท่านั้นก็สามารถอ่านเหตุการณ์ต่างๆ ออกว่าพระเจ้าใคร่บอกอะไร แต่ในเมื่อพิธีกรรมที่สภาพพระสั งคายนาปรับปรุง ถือว่าวจนพิธีกรรมมีค่ามาก ก็น่าจะเป็นความหลงผิด ถ้าเราไม่เห็นว่าการเทศนาเป็นอุปกรณ์ที่มีค่าและเหมาะยิ่งสำหรับประกาศพระวรสาร จำเป็นต้องรู้ว่าการเทศนาเรียกร้องให้ทำอะไรและสามารถทำอะไรได้บ้าง แล้วรู้จักใช้ความรู้นั้ นให้เพิ่มประโยชน์ การเทศนาก็จะเกิดผลดีในด้านอภิบาลสัตบุรุษมากที่สุด แต่โดยเฉพาะเราจะต้องมีความมั่นใจและอุทิศตนในเรื่องนี้ด้วยความรัก

การเทศนาซึ่งแทรกใส่ไว้ในพิธีมิสซาและได้รับพลังความเข้มแข็งเป็นพิเศษจากพิธีนี้ แน่นอนต้องมีบทบาทเป็นพิเศษใ นการประกาศพระวรสาร มากน้อยตามส่วนที่แสดงความเชื่อมั่นของผู้แสดงพระธรรมเทศนาและตามส่วนที่ซึมซาบไปด้วยความรัก สัตบุรุษในรูปแบบของพระศาสนจักรปัสกาฉลองพระคริสตเจ้า ผู้ทรงสถิตอยู่ในท่ามกลางเรานั้น มีความหวังจากการเทศน านี้มาก และความจริงก็ได้รับผลมากมาย เพียงแต่ว่าการเทศนานั้นจะต้องเป็นไปอย่างซื่อๆ แจ่งแจ้ง พูด ตรงๆ ดัดแปลงให้เหมาะยึดมั่นในคำสอนของพระวรสารและซื่อสัตย์ต่ออำนาจในการสอนของพระศาสนจักร ได้รับการชี้แนะจากความเร่าร้อนประก าศพระวรสาร ซึ่งเกิดจากลักษณะเฉพาะของตัวเอง เปี่ยมไปด้วยความหวัง ส่งเสริมความเชื่อสร้างสันติและเอกภาพ การที่กลุ่มสังฆตำบลมากมายและกลุ่มอื่นๆ อีกดำรงอยู่อย่างมั่นคงเข้มแข็งนั้น ก็เพราะได้อาศัยการเทศน์ทุกวันอาทิตย์ แต่การเทศน์จะ ต้องมีลักษณะต่างๆ ดังที่กล่าวมาแล้ว

ขอเสริมว่า เนื่องจากพิธีกรรมได้รับการปรับปรุงใหม่พิธีมิสซาจึงไม่ใช่เวลาเดียวที่เหมาะสำหรับการเทศน์ การเทศน์ยัง ควรจะกระทำ และไม่ควรละเลยในการประกอบพิธีศีลอื่น ๆ หรือในระหว่างพิธีต่าง ๆ เมื่อ (ทุกๆ ครั้ง) การประชุมสัตบุรุษ การเทศน์จะเป็นโอกาสอันดียิ่งเสมอสำหรับถ่ายทอดพระวาจาของพระเป็นเจ้า

การแปลคำสอน

44. วิธีอย่างหนึ่งที่ไม่ควรละเลยเสีย ในการประกาศพระวรสารก็คือการแปลคำสอน อันสติปัญญาโดยเฉพาะสติปัญญาข องเด็กและบรรดาวัยรุ่นนั้น ต้องการจะเรียนรู้ข้อคำสอนที่เป็นพื้นฐานและข้อความจริงต่างๆ ที่พระเป็นเจ้าได้ทรงไขแสดง และ พระศาสนจักรพยายามบรรยายให้เข้าใจยิ่งขึ้นเรื่อยๆ  ตลอดมาในประวัติศาสตร์ และเขาต้องการเรียนรู้ ดังนี้โดยมีผู้สอนให้อย่ างมีแบบแผน การสอนเช่นนี้จะต้องสอนเพื่ออบรม ให้มีความเคยชินในชีวิตคริสตชนไม่ใช่เพื่อให้เป็นความรู้ไว้เฉยๆ ข้อนี้คงไม่มีใครเถียง ไม่ต้องสงสัย ความพยายามประกาศพระวรสารจะเกิดผลดีมากด้วยการสอนคำสอนในโบสถ์ ในโรงเรียน ในที่ที่ท ำได้หรืออย่างน้อยในครอบครัวคริสตชน ถ้าผู้สอนคำสอนมีตำราที่เหมาะ แต่งให้เข้ากับยุคอย่างรอบครบและถูกต้องในความควบคุมของพระสังฆราช

วิธีสอนที่ใช้ต้องดัดแปลงให้เหมาะกับอายุความรู้และความสามารถของบุคคลพยายามอยู่ตลอดเวลาที่จะจารึกข้อความจ ริงสำคัญที่จะซึมซาบเข้าทั้งชีวิตลงไปในความทรงจำ สติปัญญาและหัวใจ โดยเฉพาะต้องเตรียมผู้สอนที่ดี ได้แก่ คุณครูคำสอน ประจำวัด ครูและพ่อแม่ซึ่งปรารถนาจะฝึกฝนให้มีความเชี่ยวชาญในวิชานี้ ซึ่งเป็นวิชาที่จำเป็น และต้องมีความรู้ในวิชาคำสอน ซึ่งเป็นวิชาประเสริฐจริง ๆ วิชาซึ่งจำเป็น และวิชาซึ่งเรียกร้องการเสียสละมากด้วย อีกประการหนึ่ง ขณะที่เราไม่ควรละเลยกา รอบรมเด็ก เนื่องจากสถานการณ์ในปัจจุบัน เป็นการเร่งด่วนกว่าที่จะต้องทำ แบบสอนสำหรับผู้เตรียมตัวรับศีลล้างบาป คือ สอนคำสอนแก่คนหนุ่มสาว และผู้ใหญ่ที่อาศัยพระหรรษทานช่วย ค่อย ๆ มองเห็นพระพักตร์ของพระคริสตเจ้า และรู้สึกต้องการจะ ถวายตัวแต่พระองค์

ใช้สื่อมวลชน

45. ในศตวรรษของเรา ที่สื่อมวลชนเจริญเฟื่องฟูมาก การประกาศพระวรสารครั้งแรกก็ดี การแปลคำสอนก็ดี หรือการส อนให้มีความเชื่อลึกซึ้งในภายหลังก็ดี จะไม่พึ่งเครื่องมือสื่อสารเหล่านี้ไม่ได้ ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว
เครื่องมือเหล่านี้ ถ้านำมาใช้ในงานพระวรสาร ก็สามารถกระจายพระวาจาของพระเป็นเจ้าออกไปแทนไม่มีขีดคั่น และบันดา ลให้ข่าวประเสริฐไปถึงคนเป็นจำนวนล้านๆ คน พระศาสนจักรจะต้องรู้สึกตัวผิดต่อหน้าพระเป็นเจ้า ถ้าไม่ใช้อุปกรณ์อันมีอำนา จเหล่านี้ซึ่งสติปัญญามนุษย์ประดิษฐ์ให้ดียิ่งขึ้นทุกๆ วัน อาศัยอุปกรณ์เหล่านี้พระศาสนจักรนำเอาสาระที่รับฝากมา “ประกาศบ นดาดฟ้าหลังคาเรือน”  (เทียบ มธ 10 :27-28, ลก 12:13) และใช้เครื่องอุปกรณ์เหล่านี้สำหรับพูดกับคนเป็นหมู่ใหญ่ๆ นับว่าอุปกรณ์สื่อมวลชนเป็นธรรมเทศนาอย่างทันสมัยและได้ผล

อย่างไรก็ตาม การใช้อุปกรณ์สื่อมวลชนเพื่อประกาศพระวรสารมีเรื่องท้าทายอยู่ประการหนึ่ง คือ อาศัยอุปกรณ์เหล่านี้ ส าระของพระสรสารต้องไปถึงคนเป็นจำนวนมากๆ แต่ต้องสามารถจี้มโนธรรมของแต่ละคน สามารถเข้าไปถึงใจของแต่ละคน เหมือนกับตนได้รับด้วยตนเอง ทั้งต้องช่วยให้สามารถรับความสมัครใจเห็นพ้อง ซึ่งเป็นของส่วนตัวแท้ ๆ ได้

การติดต่อส่วนตัวเป็นสิ่งจำเป็น

46. เพราะฉะนั้น นอกจากการประกาศพระวรสารในรูปทั่วๆ ไปแล้ว การถ่ายทอดพระวรสารอีกแบบหนึ่ง คือ ถ่ายทอดแ บบตัวต่อตัวก็ใช้ได้และสำคัญ พระคริสตเจ้าก็ทรงใช้การถ่ายทอดแบบนี้อยู่บ่อย ๆ เช่น ทรงสนทนากับนีโคเดมัส ซักเคียส หญิงชาวสะมาเรีย ซีโมนชาวฟาริสี บรรดาอัครธรรมทูตก็เคยเช่นเดียวกัน ถ้าจะพูดกันจริงๆ แล้ว จะมีวิธีถ่ายทอดพระวรสารอย่าง อื่นดีกว่าถ่ายทอดประสบการณ์ที่ได้รับจากความเชื่อให้แก่อีกคนหนึ่งหรือ ถึงแม้การประกาศข่าวประเสริฐแก่คนจำนวนมาก ๆ เป็นเรื่องรีบด่วน เราก็ไม่ควรลืมการประกาศแบบตัวต่อตัวดังกล่าว เมื่อใช้การประกาศแบบนี้ มโนธรรมของคนคนหนึ่งถูกสะกิ ดและปลุกด้วยถ้อยคำพิเศษของคนอีกคนหนึ่ง พระสงฆ์ที่เวลาฟังแก้บาปก็ดี หรือเวลาทำการอภิบาลสัตบุรุษก็ดี พร้อมที่จะนำมนุษย์ไปบนทางพระวรสาร เตือนให้มั่นคงในความพยายามพยุงให้ลุกขึ้นถ้าเขาหกล้มตกลงในบาป และช่วยเหลืออยู่เสมอด้วยค วามสุขุมและสรรพพร้อมพระสงฆ์เช่นนี้ เราไม่ทราบจะสรรเสริญอย่างไรจึงจะจุใจ

บทบาทของศีลต่าง ๆ

47. อย่างไรก็ตาม เราจะเน้นอย่างไรก็ไม่พอว่า การประกาศพระวรสารไม่ใช่อยู่ที่การประกาศและสอนคำสอนเท่านั้น เ พราะการประกาศพระวรสารต้องมุ่งถึงชีวิต คือชีวิตธรรมชาติซึ่งการประกาศพระวรสารทำให้มีความหมายใหม่บนรากฐานของความหวังและการรอคอยที่พระวรสารเผยให้ทราบ กับชีวิตเหนือธรรมชาติซึ่งมิใช่เป็นสิ่งทำลายชีวิตธรรมชาติแต่เป็นสิ่งชำระล้ างและแยกให้สูงขึ้น

ชีวิตเหนือธรรมชาตินี้แสดงออกมาให้ศีลศักดิ์สิทธิ์เจ็ดประการ ที่แผ่แสงแห่งพระหรรษทานและความศักดิ์สิทธิ์ของศีลทั้งเจ็ดประการนั้น

ดังนี้ การประกาศพระวรสารก็แสดงให้เห็นถึงความมั่งคั่งเมื่อทำให้เกิดความเกี่ยวพันอย่างใกล้ชิด หรืออีกนัยหนึ่งสายใ ยที่ไม่ขาดระหว่างพระวาจาของพระเป็นเจ้ากับศีลศักดิ์สิทธิ์ อันที่จริง การถือว่าการประกาศพระวรสารไม่เกี่ยวกับการอภิบาลศี ลศักดิ์สิทธิ์อย่างที่มีความถือเช่นนั้นก็นับว่าเป็นความเข้าใจผิด เพราะความจริงมีว่า การอภิบาลศีลศักดิ์สิทธิ์โดยปราศจากพื้นฐ านอันมั่นคงเกี่ยวกับศีลนี้หรือความรู้ทางคำสอนทั่วไป ย่อมทำให้ศีลศักดิ์สิทธิ์เกิดผลแต่น้อย บทบาทของการประกาศพระวรสา รก็คืออบรมให้มีความเชื่อ จนถึงกับความเชื่อนั้นจะชักนำคริสตชนแต่ละคนให้เจริญชีวิตศีลศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นเครื่องหมายแท้แห่งความเชื่อ มิใช่รับศีลนั้น ๆ โดยไม่รู้ร้อนรู้เย็น

ความเชื่อศรัทธาของสัตบุรุษ

48. บัดนี้ เราพิจารณามาถึงการประกาศพระวรสารด้านหนึ่งซึ่งเราจะนิ่งเฉยเสียมิได้ เราใคร่กล่าวถึงสิ่งซึ่งทุกวันนี้มีค นเรียกบ่อย ๆ ว่า เป็นความเชื่อศรัทธาของสัตบุรุษ
ในถิ่นที่พระศาสนจักร ตั้งมานานเป็นเวลาหลายศตวรรษแล้วก็ดี ในถิ่นที่พระศาสนจักรกำลังจะตั้งขึ้นก็ดี มีคนที่แสดงออกมาเป็ นพิเศษต่อพระเป็นเจ้าและในความเชื่อ การแสดงออกมาเช่นนี้ ถูกถือว่าไม่สู้บริสุทธิ์มาเป็นเวลานาน บางทีก็ดูหมิ่นเหยียดหยาม แต่ทุกวันนี้กลับได้รับการสนใจใหม่ในที่ทั่วไป ในการประชุมครั้งสุดท้ายสมัชชาพระสังฆราชได้ศึกษาความหมายอันสมบูรณ์ ของการแสดงออกเหล่านี้ด้วยความห่วงใย อาศัยความเร่าร้อนอันน่าสรรเสริญและการรู้คุณค่าในแง่ปฏิบัติของงานอภิบาล และมองดูสภาพที่เป็นจริงในด้านอภิบาลสัตบุรุษ

ความเชื่อศรัทธาของสัตบุรุษต้องมีขอบเขตอย่างแน่นอน มีอยู่บ่อยๆ ที่ความเชื่อศรัทธาดังกล่าวปล่อยให้มีการทำเสียโฉ มหน้าพระศาสนา และแม้แต่การถือนอกรีตมีอยู่บ่อยๆ เหมือนกันที่ความเชื่อศรัทธาดังกล่าวเป็นแต่รูปแบบของการกราบไหว้บูชาอันไม่เกี่ยวข้อกับความเชื่ออันแท้จริง แต่ก็อาจเป็นเหตุทำให้เกิดลัทธิ และทำให้กลุ่มพระศาสนจักรแท้ได้รับอันตรายได้
แต่ความเชื่อศรัทธาของสัตบุรุษนี้ ถ้ามีผู้นำไปในทางที่ถูก เป็นต้น จากวิธีการอันถูกต้องในการประกาศพระวรสาร ก็อาจจะเป็น สิ่งที่มีคุณค่ามาก เพราะความเชื่อศรัทธาดังกล่าวบ่งบอกถึงความหิวกระหายพระเป็นเจ้า ซึ่งมีแต่คนซื่อและคนจนเท่านั้นที่มีค วามหิวกระหายเช่นนี้ ความเชื่อศรัทธาดังกล่าว เมื่อถึงคราวต้องแสดงความเชื่อออกมาก็สามารถทำให้สัตบุรุษมีน้ำใจกว้างแล ะเสียสละจนถึงขั้นวีรภาพได้ ผู้ที่มีความเชื่อศรัทธาเช่นนี้จะทำให้เข้าใจอย่างซึ้งถึงพระคุณลักษณะสูงส่งของพระเป็นเจ้า คือ คว ามเป็นบิดา พระญาณสอดส่องและการสถิตอยู่กับมนุษย์ตลอดเวลาด้วยความรัก นอกจากนั้นจะทำให้เกิดความรู้สึกภายในใจต่างๆ ซึ่งยากนักที่จะพบที่อื่นในระดับเดียวกันได้ คือ ความเพียร ความเข้าใจถึงกางเขนที่ต้องแบกในชีวิตประจำวัน การตัดสินใจ ทิ้งสมบัติ ความเปิดเผยกับผู้อื่น ความศรัทธา เพราะลักษณะในด้านต่างๆ เหล่านี้ เราอยากเรียนความรู้สึกนี้ว่า “ความเลื่อมใสของมวลชน” นั่นคือ ศาสนาของมวลชน มากกว่าที่จะเรียกว่า “ความเชื่อศรัทธา”

ความรักในด้านอภิบาลสัตบุรุษจะต้องแนะบรรดาผู้ที่พระเป็นเจ้าได้ทรงตั้งให้เป็นหัวหน้ากลุ่มคริสตจักร ให้คิดหากฎเก ณฑ์ที่จะต้องถือต่อเรื่องนี้ ซึ่งอาจทำให้เกิดผลดีหรือเป็นภัยคุกคามก็ได้ ก่อนอื่นอย่านิ่งดูดาย ต้องรู้ว่าความเชื่อศรัทธาของสัตบุ รุษนี้มีความหมายในอะไรและมีคุณค่าที่ปฏิเสธไม่ได้เช่นไร และต้องพร้อมที่จะช่วยให้พ้นจากภัย คือภัยที่จะถูกนำออกนอกลู่นอกทางไป ถ้าได้รับการนำไปในทางที่ถูก ความเชื่อศรัทธาของสัตบุรุษนี้อาจเป็นช่องทางให้มวลสัตบุรุษของเราได้พบกับพระเป็ นเจ้า ในองค์พระเยซูคริสตเจ้าก็ได้