ประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน

Evangelii Nuntiandi

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

การประกาศพระวรสารคืออะไร

งานประกาศพระวรสารเป็นเรื่องสลับซับซ้อน

17. ในงานประกาศพระวรสารของพระศาสนจักร แน่นอนมีส่วนประกอบและลักษณะบางประการที่ต้องเน้นกล่าวถึงเป็นพิเศษ ส่วนประกอบและลักษณะบางประการนั้นมีความสำคัญมาก จนอาจจะมีคนถือเอาเองว่า เป็นการประกาศพระวรสารนั้นเอง ดังนี้เคยมีคนนิยามการประกาศพระวรสารว่า เป็นการประกาศพระคริสตเจ้าแก่ผู้ที่ไม่รู้จักพระองค์ก็มี เป็นการเทศนาก็มี เป็นการอธิบายคำสอนก็มี เป็นการประกอบพิธีศีลล้างบาปและศีลอื่นๆ ก็มี

แต่การให้คำนิยามแต่เพียงส่วนหนึ่งที่ไม่ครบถ้วนนั้นไม่อธิบายให้เห็นลักษณะแท้จริงของการประกาศพระวรสาร ซึ่งมีความสลับซับซ้อนมั่งคั่งและมีพลังแรง หรือถ้าอธิบาย ก็อธิบายโดยเสี่ยงต่อการทำให้ความหมายของการประกาศพระวรสารจืดจางและบิดเบือนความจริงไป เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจการประกาศพระวรสารอย่างถ่องแท้ นอกเสียจากว่า จะคำนึงถึงส่วนประกอบที่สำคัญทั้งหมดพร้อมกัน

ส่วนประกอบเหล่านี้ได้รับการเน้นกล่าวถึงมากในที่ประชุมสมัชชาพระสังฆราชครั้งที่แล้ว และยังเป็นเรื่องที่พิจารณาศึกษาอยู่บ่อยๆ ทั้งนี้ก็เพราะการเน้นเป็นพิเศษ อันเป็นผลสืบเนื่องจากสมัชชาพระสังฆราช เรามีความชื่นชมที่ส่วนประกอบเหล่านี้อยู่ในแนวเดียวกัน ส่วนประกอบซึ่งที่ประชุมสังคายนาวาติกันที่ 2 ได้ถ่ายทอดถึงพวกเราโดยเฉพาะในสังฆธรรมเรื่องพระศาสนจักร สังฆธรรมนูญเรื่องพระศาสนจักรในโลกสมันนี้ และสมณกฤษฎีกาว่าด้วยงานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร

ฟื้นฟูมนุษยชาติ

18.พระศาสนจักรเข้าใจดีว่าการประกาศพระวรสารหมายความว่านำข่าวประเสริฐไปถึงทุกชนชั้นในมนุษยชาติ และด้วยพลังของข่าวประเสริฐนี้ เปลี่ยนแปลงจิตใจมนุษยชาติเอง ทำให้มนุษยชาติใหม่ “ดูซิ เราทำทุกสิ่งขึ้นใหม่” (วว 21 : 5; เทียบ 2 คร 5 : 17; กท 6 : 15) แต่จะไม่มีมนุษยชาติใหม่ ถ้าไม่มีมนุษย์ที่ฟื้นฟูเปลี่ยนแปลงใหม่ด้วยศีลล้างบาป (เทียบ รม 6 : 4) และด้วยการดำรงชีวิตตามแนวพระวรสาร (เทียบ อฟ 4 ; 23-24; คส 3 : 9-10) เสียก่อน ฉะนั้นจุดหมายของการประกาศพระวรสาร ก็คือการเปลี่ยนแปลงภายในจิตใจนี้แหละ พูดสั้นๆ ก็คือ พระศาสนจักรประกาศพระวรสาร เมื่อใช้อำนาจศักดิ์สิทธิ์ของข่าวที่ประกาศแต่อย่างเดียวพยายามเปลี่ยนแปลงทั้งมโนธรรมส่วนตัวและส่วนรวมของมนุษย์ ทั้งกิจการต่าง ๆ ที่มนุษย์กระทำ ตลอดจนชีวิตและชนชั้นที่เห็นได้ของมนุษย์

ฟื้นฟูชนชั้นต่างๆ ในมนุษย์ชาติ

19. ชนชั้นต่างๆ ในมนุษยชาติที่ต้องเปลี่ยนแปลงไป พระศาสนจักรไม่มีหน้าที่จะประกาศพระวรสารไปในดินแดนที่กว้างออกไป หรือ ถึงหมู่ประชากร ที่มีจำนวนมากยิ่งขึ้นเท่านั้น แต่ยังมีหน้าที่ใช้พลังของพระวรสารเข้าไปเปลี่ยนแปลง และเหมือนกับปฏิรูปกฎเกณฑ์การวินิจฉัยคุณธรรมอันมีค่า จุดความสนใจ แนวความคิด แหล่งเกิดแรงบันดาลใจ และแบบอย่างชีวิตของมนุษยชาติ ซึ่งขัดต่อพระวาจาของพระเป็นเจ้าและแผนแห่งความรอดด้วย
ปรับปรุงวัฒนธรรมให้ตรงกับแนวพระวรสาร

20.เราจะแสดงความคิดทั้งหมดนี้ออกมาได้โดยกล่าวว่า เรื่องสำคัญคือต้องปรับวัฒนธรรมเฉพาะ และวัฒนธรรมทั่วๆ ไปของมนุษย์ ให้ตรงกับแนวพระวรสาร มิใช่แบบตกแต่งให้สวยงามภายนอกเหมือนกับเอาสีทาเพียงบางๆ แต่อย่างเอาจริงเอาจัง ลึกซึ้ง และจนถึงรากถึงโคน ตามความหมายอันกว้างและซึ้งของถ้อยคำสำนวนอันใช้อยู่ในสังฆธรรมนูญว่าด้วยพระศาสนจักรในโลกสมัยใหม่นี้ สังฆธรรมนูญดังกล่าวถือว่าจุดสำคัญคือตัวบุคคล แต่ในขณะเดียวกันก็ต้องหวนนึกถึงความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ด้วยกันเอง และระหว่างมนุษย์กับพระเป็นเจ้า

ดังนั้น พระวรสารและการประกาศพระวรสารไม่ควรถูกวางไว้ในระดับเดียวกันกับวัฒนธรรม เพราะอยู่เหนือวัฒนธรรมใดๆ อย่างไรก็ตาม พระราชัยของพระเป็นเจ้าซึ่งพระวรสารประกาศนั้น ต้องกลายเป็นหลักปฏิบัติในชีวิตของมนุษย์ ซึ่งมีความผูกพันกับวัฒนธรรมอันใดอันหนึ่งอย่างแน่นแฟ้น และการสร้างพระราชัยขึ้นก็จำเป็นต้องอาศัยส่วนประกอบของวัฒนธรรมเฉพาะและวัฒนธรรมทั่ว ๆ ไปของมนุษย์ พระวรสารกับการประกาศพระวรสารไม่ขึ้นกับวัฒนธรรมใด แต่ไม่จำเป็นจะต้องหมายความว่าจะเข้ากับวัฒนธรรมไม่ได้ ยิ่งกว่านั้นสามารถซึมซาบเข้าไปในวัฒนธรรมได้ทุกชนิด โดยไม่ตกอยู่ใต้อำนาจของวัฒนธรรมนั้น ๆ

การแยกตัวระหว่างพระวรสารกับวัฒนธรรมเป็นภัยร้ายแรงเกิดขึ้นในสมัยของเราเหมือนกับที่เกิดขึ้นในสมัยอื่นๆ เพราะฉะนั้นเราต้องพยายามทุกวิถีทางในการนำคุณค่าของพระวรสารเข้าสู่วัฒนธรรม หรือพูดให้ถูกว่าคือให้คุณค่านี้เข้าสู่วัฒนธรรมต่างๆ เพื่อจะได้เกิดใหม่ด้วยการสัมผัสพระวรสาร แต่การสัมผัสนี้จะเป็นจริงไม่ได้ถ้าไม่มีการประกาศพระวรสารเสียก่อน

การเป็นองค์พยายประกาศด้วยแบบดำรงชีวิตมีความสำคัญเป็นอันดับแรก

21.ก่อนอื่นเราต้องประกาศพระวรสารด้วยการเป็นองค์พยาน เช่น คริสตชนคนหนึ่งหรือกลุ่มหนึ่งที่ดำรงชีวิตอยู่ในประชาคมของตน แสดงให้เห็นว่าสามารถจะเข้าใจและเห็นคล้อยตามมีชีวิตและมีชะตากรรมร่วมกับคนอื่น ร่วมมือช่วยเหลือทุกคนในการทุกอย่างที่ดีและน่านิยม นอกจากนั้น เขายังแสดงให้เห็นอย่างซื่อๆ และไม่แสร้งทำว่ามีความเชื่อถึงคุณค่าที่อยู่เหนือสิ่งมีค่าโดยทั่วไป อีกทั้งมีความหวังในสิ่งหนึ่ง ซึ่งแลไม่เห็นและไม่มีใครกล้านึกฝันถึง เมื่อเป็นองค์พยานโดยไม่ต้องพูดเช่นนี้ คริสตชนดังกล่าวก็ทำให้คนที่เห็นเขาดำรงชีวิต อดมิได้ที่จะถามว่า “ทำไมเขาจึงเป็นเช่นนี้ ทำไมเขาจึงดำรงชีวิตแบบนี้ อะไรหรือใครเป็นแรงดลบันดาลใจเขา ทำไมเขาจึงมาอยู่กลางหมู่พวกเรา” การเป็นองค์พยานเช่นนี้ก็นับเป็นการประกาศข่าวประเสริฐแล้ว เป็นการประกาศอย่างเงียบๆ แต่เป็นการประกาศที่มีพลังและเกิดผล นี่เป็นการประกาศพระวรสารเบื้องต้น

คำถามเหล่านี้ชะรอยจะเป็นคำถามแรกๆ ซึ่งผู้ที่มิใช่คริสตชนหลาย ๆ คนจะต้องถามตนเอง ไม่ว่าเขาจะเป็นคนที่ยังไม่เคยได้ยินพูดถึงพระคริสตเจ้า หรือเป็นคนที่ได้รับศีลล้างบาปแล้ว แต่เลิกการปฏิบัติ หรือเป็นคนที่เพียงแต่มีชื่อว่าคริสตชน แต่ถือตามหลักที่มิใช่คริสตชนเลย หรือเป็นคนที่มีความกระวนกระวายแสวงหาสิ่งหนึ่งหรือท่านผู้หนึ่งซึ่งเขารู้สึกว่ามีอยู่ แต่บอกไม่ได้ว่าเป็นผู้ใด คำถามอื่น ๆ จะเกิดขึ้นอีก แต่เป็นคำถามที่ลึกซึ้งกว่าและสำคัญกว่า คำถามนี้เกิดขึ้นเพราะการเป็นองค์พยานดังกล่าว ซึ่งหมายความว่าตัวผู้เป็นองค์พยานจะต้องไปตั้งหลักอยู่กับเขา จะต้องมีส่วนร่วม จะต้องช่วยเหลือเผื่อแผ่และการเป็นองค์พยานดังนี้นับเป็นส่วนประกอบที่สำคัญและโดยปรกติเป็นก้าวแรกในการ

ประกาศพระวรสาร

คริสตชนทุกคนมีหน้าที่ต้องเป็นองค์พยาน ดังนี้ อาจเป็นผู้ประกาศพระวรสารได้อย่างแท้จริง...เรากำลังระลึกเป็นพิเศษถึงหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้อพยพ ต่อประเทศที่ต้อนรับพวกเขา

จำเป็นต้องประกาศอย่างเปิดเผย

22. อย่างไรก็ตาม การเป็นองค์พยานเพียงเท่านี้ยังคงไม่เพียงพอ เพราะการเป็นองค์พยานที่ดีที่สุดนั้นนานๆ เข้าก็จะสิ้นฤทธิ์ถ้าไม่ได้รับการอธิบายให้เข้าใจ ตามที่นักบุญเปโตรกล่าวว่า “จงพร้อมอยู่เสมอที่จะให้คำอธิบายแก่ทุกคนที่ต้องการรู้เหตุผลแห่งความหวังของท่าน” (1 ปต 3: 15) หรือถ้าไม่ได้รับการบรรยายด้วยการประกาศองค์พระเยซูเจ้าอย่างแจ่มแจ้งชัดเจน ข่าวประเสริฐที่ถูกประกาศด้วยการเป็นแบบอย่างของชีวิตที่ดีขึ้น ไม่เร็วก็ช้าจะต้องประกาศออกมาเป็นคำพูดในชีวิต การประกาศพระวรสารจะไม่เป็นการประกาศที่แท้จริง ถ้าไม่มีการประกาศพระนาม คำสั่งสอน ประวัติชีวิต คำสัญญา พระราชัย ตลอดธรรมล้ำลึกของเยซูชาวนาซาเร็ธ พระบุตรของพระเป็นเจ้า

นับตั้งแต่คำปราศรัยของนักบุญเปโตรเมื่อเช้าวันพระจิตตาคมเป็นต้นมา ประวัติพระศาสนจักรก็เริ่มคลุกเคล้ารวมเป็นอันหนึ่งอันเดียวกับประวัติของการประกาศที่กล่าวนี้ ทุกครั้งที่ประวัติศาสตร์ของมนุษย์ดำเนินมาถึงช่วงใหม่ พระศาสนจักรซึ่งปรารถนาจะประกาศพระวรสารอยู่ตลอดเวลา มีแต่ความห่วงใยประการเดียวว่า จะใช้ใครไปประกาศธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้า จะประกาศธรรมล้ำลึกของพระเยซูเจ้า จะประกาศธรรมล้ำลึกนี้อย่างไร จะทำอย่างไรให้ธรรมล้ำลึกดังกึกก้องไปให้ทุกคนได้ยิน การประกาศข่าวนี้คือการเทศน์สอนหรือการสอนคำสอน มีความสำคัญในงานประกาศพระวรสารมาก จนมีคนเรียกใช้คำนั้นเลย แต่ความจริงเป็นแต่ส่วนหนึ่งของการประกาศพระวรสารเท่านั้น

น้อมรับเห็นด้วยอย่างจริงจัง และเข้ากลุ่ม

23. อันที่จริง การประกาศพระวรสารจะเกิดผลอย่างสมบูรณ์ก็เฉพาะเมื่อมีคนได้ยินแล้วก็ต้อนรับ และปรับตัว และเร้าใจในการยินยอมน้อมรับ คือน้อมรับข้อความจริงต่างๆ ซึ่งพระเป็นเจ้าได้ทรงเปิดเผย แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือ ต้องน้อมรับแผนชีวิตที่พระองค์ทรงเสนอเป็นชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง พูดสั้น ๆ ว่าต้องน้อมรับเอาพระราชัยของพระเป็นเจ้าซึ่งเป็น “โลกใหม่” สถานการณ์ใหม่หรือวิถีความเป็นอยู่ใหม่ วิธีดำรงชีวิตของตนหรือวิธีดำรงชีวิตอยู่ร่วมกับผู้อื่นใหม่ ซึ่งทั้งหมดนี้พระวรสารได้เริ่มนำเข้ามา แต่การยินยอมน้อมรับเช่นนี้จะเป็นอยู่ในรูปนามธรรมตลอดไปหาได้ไม่ จำต้องแสดงออกมาภายนอกด้วยการสมัครเข้าในกลุ่มผู้มีความเชื่ออย่างเปิดเผยให้ใครๆ เห็นได้

ฉะนั้น บรรดาผู้ที่ชีวิตได้เปลี่ยนแปลงไป ก็เข้าอยู่ในชนกลุ่มหนึ่ง และชนกลุ่มนั้นก็เป็นเครื่องหมายบอกความเปลี่ยนแปลงและบ่งแสดงถึงชีวิตใหม่ ชนกลุ่มนั้นก็คือพระศาสนจักร ซึ่งเป็นเครื่องมือแห่งความรอด (สังฆธรรมนูญ เรื่อง พระศาสนจักร ข้อ 42,45; สมณกฤษฎีกาเรื่องงานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร ข้อ 1,5) แต่การเข้าในประชาคมพระศาสนจักรจะต้องแสดงให้ปรากฏเหมือนกันด้วยเครื่องหมายซึ่งครอบคลุมและอธิบายสัญลักษณ์ของพระศาสนจักร เพื่อให้สอดคล้องแห่งการประกาศพระวรสาร ผู้ที่น้อมรับพระศาสนจักรเหมือนวาจาแห่งความรอดพ้น (เทียบ รม 1:16 ; 1 คร 1:18) โดยปรกติจะแสดงการยอมรับด้วยเครื่องหมายเหล่านี้ คือการยอมเข้าในพระศาสนจักรและรับศีลศักดิ์สิทธิ์ ส่วนศีลศักดิ์สิทธิ์ก็แสดงให้เห็นและรักษาไว้ซึ่งความยินยอมน้อมรับนี้ด้วยพระหรรษทานที่เกิดจากศีลศักดิ์สิทธิ์

ทำให้เกิดการแพร่ธรรมใหม่

24. ที่สุด คนที่ได้รับการประกาศพระวรสาร ก็จะทำการประกาศพระวรสารถึงคนอื่นต่อไป ข้อนี้แหละเป็นข้อทดสอบความจริง เป็นเครื่องทดสอบการประกาศพระวรส าร เพราะไม่น่าเป็นไปได้ที่ใครคนหนึ่ง น้อมรับ พระวาจา และยอมมอบตนเองเข้าในพระราชัยแล้วจะไม่กลายเป็นองค์พยานประกาศพระวาจาและพระราชัยนั้นต่อไป

เพื่อให้ข้อคิดเหล่านี้เกี่ยวกับความหมายของการประกาศพระวรสารครบถ้วน จ ะขอให้สังเกตข้อสุดท้าย ซึ่งเราเห็นว่าจะช่วยให้เข้าใจข้อคิดต่อไปนี้ได้อย่างแจ่มแจ้ง

เราได้กล่าวแล้วว่า การประกาศพระวรสารเป็นการดำเนินงานที่สลับซับซ้อนซึ่งเกี่ยวโยงถึงส่วนประกอบมากมาย อาทิ การฟื้นฟูธรรมชาติมนุษย์ การเป็นพยาน การปร ะกาศอย่างเปิดเผย การยินยอมน้อมรับ การเข้าอยู่ในกลุ่ม การยอมรับเครื่องหมายภายนอกและงานแพร่ธรรม ส่วนประกอบเหล่านี้อาจปรากฏเหมือนขัดแย้งกันและรวมเข้าด้วยกันไม่ได้ แต่ความจริงสิ่งทั้งหมดเป็ นส่วนประกอบของกันและกัน และนำความสมบูรณ์มาสู่กันและกันดังนี้ จึงจำเป็นต้องพิจารณาแต่ละส่วนในความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของมัน ประโยชน์ที่สำคัญที่สมัชชาพระสังฆราชครั้งสุดท้ายได้ทำไว้ ก็คือ เตือนเราให้เห็นว่าส่วนประกอบเหล่านี้สัมพั นธ์กันไม่ใช่ขัดแย้งกัน ทั้งนี้ก็เพื่อเข้าใจงานประกาศพระวรสารของพระศาสนจักรอย่างครบครัน

บัดนี้ เราใคร่อธิบายให้เห็นว่า ต้องคำนึงถึงส่วนประกอบทั้งหมดนี้อย่างไร โดยพิจารณาสาระของการประกาศพระวรสาร วิธีประกาศพระวรสาร และบ่งชัดว่า ต้องประกาศพระวรสารแก่ผู้ใด และใครมีหน้าที่รับผิดชอบต่องานประกาศพระวรสารในปัจจุบันนี้