|
|
- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - |
พระคริสตเจ้าเคยประกาศพระวรสารฉันใด |
|||||
คำประกาศยืนยันและภารกิจของพระเยซูเจ้า 6. การที่พระเยซูเจ้าได้ทรงยืนยันถึงพระองค์เอง และนักบุญลูกาได้บันทึกไว้ในพระวรสารของท่านว่า เราต้องประกาศข่าวดีเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้าให้แก่เ มืองอื่นด้วย (ลก 4 : 43) นั้นต้องนับอย่างไม่สงสัยว่ามีความสำคัญมากทีเดียว เพราะเป็นคำสรุปภารกิจทั้งหลายของพระเยซูเจ้าตามที่พระองค์ตรัสว่า เราต้องประกาศข่าวดีเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้าให้แก่เมืองอื่นด้วย (ลก 4:43) พระวาจาดังกล่าวมีความหมายอย่างสมบูรณ์ถ้าเรานำมาเทียบกับถ้อยคำในข้อข้างหน้าในพระวรสารซึ่งพระคริสตเจ้าตรัสว่า คำพูดของประกาศกอิสยาห์เป็นคำพูดที่ได้กับพระองค์ท่านเองคือคำพูดที่ว่า พระจิตของพระเจ้าทรงอยู่เหนือข้าพเจ้า เพราะพระองค์ทรงเจิมข้าพเจ้าไว้ ให้ประกาศข่าวดีแก่คนยากจน ทรงส่งข้าพเจ้าไปประกาศการปลดปล่อยแก่ผู้ถูกจองจำ คืนสายตาให้แก่คนตาบอด ปลดปล่อยผู้ถูกกดขี่ให้เป็นอิสระ (ลก 4 : 18; อสย 61:1) |
|||||
ภารกิจที่พระเยซูเจ้าทรงยืนยันว่า พระบิดาทรงใช้พระองค์ให้มาปฏิบัติก็คือ นำข่าวอันน่ายินดีที่ว่าพระสัญญาต่างๆ และพันธสัญญาซึ่งพระเป็นเจ้าทรงเสนอ ได้เป็นอันสำเร็จไปแล้ว
ไปประกาศในเมืองต่างๆ โดยเฉพาะแก่บรรดายาจกเข็ญใจ ซึ่งโดยมากมักจะเป็นคนที่ต้อนรับดีกว่าคนพวกอื่น และกิจการทุกอย่างที่นับเป็นอัตถ์ล้ำลึกเกี่ยวกับพระองค์ เช่น การเสด็จอวตารเป็นมนุษย์ การทำอัศจรรย์ต่างๆ การสั่งสอน การรวบรวมสานุศิษย์
การใช้สาวกสิบสองคนไปเทศนา การสิ้นพระชนม์บนกางเขนและการกลับคืนชีพ การประทับอยู่ท่ามกลางศิษย์ของพระองค์ตลอดไปเหล่านี้ล้วนนับรวมอยู่ในงานประกาศพระวรสารของพระองค์ทั้งสิ้น 7. ในระหว่างประชุมสมัชชา บรรดาพระสังฆราชเตือนให้ระลึกถึงความจริงข้อนี้บ่อยๆ ว่า : พระเยซูเจ้าเองซึ่งเป็นองค์ข่าวประเสริฐของพระเป็นเจ้า (เทียบ มก 1 : 1; รม 1:1-3) ก็ทรงเป็นผู้ประกาศพระวรสารจนถึงที่สุด อย่างดีล้ำเลิศ จนถึงกับทรงยอมพลีพระชนม์ชีพมนุษย์ ที่ว่า จงประกาศพระวรสาร นั้น มีความหมายอะไรสำหรับพระคริสตเจ้า ไม่ใช่ของง่ายแน่ที่จะแสดงในสังเคราะห์(Synthesis) ที่ทำอย่างครบถ้วนว่า
การประกาศพระวรสารอย่างที่พระเยซูเจ้าทรงเข้าพระทัยและทรงปฏิบัตินั้นมีความหมายว่ากระไร และจะกระทำด้วยวิธีอะไรบ้าง อันที่จริงสังเคราะห์แบบนี้ทำได้ไม่รู้จักจบ เราจะกล่าวถึงการประกาศพระวรสารในบางแง่บางมุมที่สำคัญก็เพียงพอแล้ว 8. ก่อนอื่นในฐานะผู้ประกาศพระวรสาร พระคริสตเจ้าทรงประกาศพระราชัยของพระเป็นเจ้า พระราชัยของพระเป็นเจ้านั้นมีความสำคัญมาก
สำคัญจนว่าเมื่อนำมาเปรียบเทียบกันแล้ว สิ่งอื่นทั้งหมดก็กลายเป็น พระองค์จะทรงเพิ่มทุกสิ่งเหล่านี้ให้(เทียบ มธ
6:33)ด้วยเหตุนี้พระราชัยของพระเป็นเจ้าแต่สิ่งเดียวเท่านั้นเป็นสิ่งที่สมบูรณ์อย่างสูงสุดและทำให้ของทุกสิ่งนอกนั้นลดหลั่นไป พระคริสตเจ้าพอพระทัยตรัสเป็นรูปต่างๆ มากมาย บรรยายถึงความสุขที่จะได้เข้าอยู่ในพระราชัยนี้
ซึ่งที่จริงเป็นความสุขที่ประกอบอย่างน่าแปลกใจ ด้วยสิ่งต่างๆ ที่โลกประณามว่าไม่ดี (เทียบ มธ 5 :3-12) พระองค์ทรงขยายความข้อเรียกร้องของการเข้าพระราชัยต้องถือกฎข้อบังคับและพระธรรมอะไร บ้าง(เทียบ มธ 5-7)
ผู้ประกาศพระราชัยต้องประพฤติอย่างไร (เทียบ มธ 10) พระราชัยมีอัตถ์ล้ำลึกอะไรบ้าง (เทียบ มธ 13) ใครจะได้เข้าในพระราชัยนี้ (เทียบ มธ 18) ผู้ที่คอยให้พระราชัยมาถึงในขั้นสุดท้ายจะต้องตื่นเฝ้าและซื่อสัตย์ (เทียบ มธ 24 25) 9. แก่นและสาระสำคัญของข่าวประเสริฐก็คือ พระคริสตเจ้าประกาศการกอบกู้ช่วยให้รอดอันเป็นพระคุณใหญ่หลวงของพระเป็นเจ้า
ซึ่งช่วยให้พ้นจากทุกสิ่งที่กดขี่มนุษย์ โดยเฉพาะช่วยให้พ้นจากบาปและเจ้ามารร้าย มีความชื่นชมปิติที่รู้จักพระเป็นเจ้า
และชื่นชมปิติที่พระเป็นเจ้ารู้จักตนชื่นชมยินดีที่จะได้เห็นพระเป็นเจ้าและที่ได้พบความพักผ่อนด้วยความวางใจในพระองค์
การณ์ทั้งหมดนี้ได้เริ่มอุบัติตั้งแต่เมื่อพระคริสตเจ้าขณะดำรงพระชนม์อยู่ในโลกและได้เป็นอันสำเร็จเด็ดขาดไปเมื่อพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์และกลับคืนชีพ แต่จะต้องดำเนินด้วยความอดทนต่อไปในประวัติศาสตร์
เพื่อจะเป็นอันสำเร็จอย่างสมบูรณ์ในวันที่พระคริสตเจ้าจะเสด็จมาเป็นครั้งสุดท้าย ซึ่งวันนั้นเป็นวันใดไม่มีใครทราบ นอกจากพระบิดาเจ้า (เทียบ มธ 24:36; กจ 1 : 17; 1 ธส 5: 1-2)
10. พระราชัยและความรอด ซึ่งเป็นคำหลักที่พระเยซูเจ้าทรงใช้ในการประกาศพระวรสาร ทุกคนรับเป็นพระคุณและพร
ะเมตตาของพระเป็นเจ้าได้ แต่ในขณะเดียวกันแต่ละคนจะต้องพิชิตเอาด้วยกำลัง (ตามที่พระคริสตเจ้าตรัสว่าผู้ที่ออกแรงชิงเอาได้ เทียบ มธ 11 : 12; ลก 16 : 16) ด้วยความทำงานหนักและทนทุกข์ทรมาน ด้วยการดำรงชีวิตตามพระวรสารด้วยการสลัด
ทิ้งน้ำใจของตน ด้วยการแบกกางเขนและด้วยการมีจิตตารมณ์ของบุญลาภ (Beatitudes) แต่ก่อนอื่นทั้งปวง แต่ละคนจะต้องพิชิตเอาพระราชัยและความรอดด้วยการเปลี่ยนแปลงภายในใจอย่างสิ้นเชิง ซึ่งพระวรสารเรียกว่า เมตาโนยา (Metanoia)
แปลว่า การกลับตัวอย่างสิ้นเชิง การเปลี่ยนทัศนคติและจิตใจอย่างลึกซึ้ง (เทียบ มธ 4 : 17) 11.พระคริสตเจ้าป่าวประกาศพระราชัยของพระเป็นเจ้าด้วยการร้องประกาศถ้อยคำอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย ซึ่งจะมีผู้ก
ล่าวว่า ไม่มีถ้อยคำอื่นใดจะเปรียบเสมอเหมือน เช่น เป็นคำสอนแบบใหม่ที่มีอำนาจ เขาสั่งแม้กระทั่งปีศาจ และมันก็เชื่อฟัง (มก 1:27) ทุกคนสรรเสริญพระองค์ และต่างประหลาดใจในถ้อยคำน่าฟังที่พระองค์ตรัส (ลก 4: 22)
ไม่มีคนใดพูดจาเหมือนกับชายผู้นี้เลย (ยน 7 : 46) เป็นอันว่าพระวาจาของพระองค์เผยความลับ แผนการและคำสัญญาของพระเป็นเจ้า แล้วดังนั้นจึงเปลี่ยนจิตใจและโชคชะตาของมนุษย์ 12. แต่พระคริสตเจ้ายังประกาศพระราชัยของพระเป็นเจ้าด้วยการทำอัศจรรย์เหลือคณนานับ ซึ่งทำให้ฝูงชนตกตลึงพรึ
งเพริดและในขณะเดียวกันก็ชักนำเขาให้มาดูพระองค์ฟังและรับการเปลี่ยนแปลงจิตใจจากพระองค์ เช่น คนเจ็บหายจากโรค น้ำกลายเป็นเหล้าองุ่น ขนมปังทวีเพิ่มขึ้นคนตายกลับเป็นขึ้นมา และในเครื่องหมายสำคัญเหล่านี้มีอยู่ประการหนึ่งซึ่งพระองค์ทร
งถือว่ามีความสำคัญมาก กล่าวคือคนต่ำต้อย คนยากจนเข็ญใจได้รับการประกาศพระวรสาร กลายเป็นศิษย์ของพระองค์ ชุมนุมกัน ในพระนามของพระองค์ ในที่ประชุมใหญ่ของบรรดาผู้ที่เชื่อถือพระองค์ เพราะพระเยซูองค์นี้ซึ่งทรงประกาศว่า เราต้อ
งประกาศข่าวดีเรื่องพระอาณาจักรของพระเจ้าให้แก่เมืองอื่นด้วย (ลก 4 : 43) นั้น เป็นพระเยซูคริสตเจ้าองค์เดียวกับที่ยอห์นผู้นิพนธ์พระวรสารกล่าวว่า ได้เสด็จมาและต้องสิ้นพระชนม์ เพื่อรวบรวมบรรดาบุตรของพระเจ้าทรงกระจัดกระจายอย
ู่ให้กลับเป็นหนึ่งเดียวกัน (ยน 11: 52) ดังนี้ พระองค์ก็ทรงทำให้การไขแสดงของพระองค์เป็นอันสำเร็จไป โดยทำให้ครบถ้วนและยืนยันด้วยการเผยถึงพระองค์เอง ด้วยพระวาจาและการกระทำ ด้วยเครื่องหมายสำคัญและอัศจรรย์ และโดยเฉพาะการสิ้
นพระชนม์และกลับคืนพระชนม์ อีกทั้งการใช้พระจิตแห่งความจริงมา (เทียบสังฆธรรมนูญแห่งพระสังคายนาวาติกันที่ 2 เรื่องการเผยของพระเป็นเจ้าข้อ 4) 13. ผู้ที่รับเอาข่าวประเสริฐอย่างจริงใจนั้น เนื่องจากได้รับและร่วมมีความเชื่อด้วย จึงชุมนุมกันในนามของพระเยซูเจ้า
เพื่อที่จะร่วมแสวงหา เสริมสร้างและทำให้เป็นจริงในชีวิตของเขา เขารวมกันเป็นกลุ่มหนึ่งซึ่งบัดนี้ถึงคราวที่จะเป็นผู้ประกาศพระวรสารบ้าง คำสั่งที่อัครธรรมทูตสิบสองท่านได้รับว่า ท่านจงไปประกาศข่าวประเสริฐ
นั้นเป็นคำสั่งที่มีถึงคริสตชนทุกคนด้วย แม้จะเป็นวิธีไม่เหมือนกัน เพราะเหตุนี้แหละนักบุญเปโตรจึงเรียกบรรดาคริสตชนว่าเป็น ประชากรที่เป็นกรรมสิทธิ์
พิเศษของพระเจ้า เพื่อจะประกาศพระฤทธานุภาพของพระองค์ผู้ทรงเรียกท่านจากความมืดสู่ความสว่างที่น่าพิศวงของพระองค์ (1 ปต 2 : 9) นี่คือมหัศจรรย์ซึ่งแต่ละคนได้ยินได้ฟังเป็นภาษาของตน (เทียบ กจ 2:11) อันที่จริง ข่าวประเ
สริฐเกี่ยวกับพระราชัยซึ่งมาถึงและได้เริ่มอุบัติขึ้นแล้วนั้น เป็นข่าวสำหรับมนุษย์ในทุกยุคทุกสมัย ผู้ที่ได้รับแล้วได้ถูกรวมให้เข้าอยู่ในกลุ่มความรอด ก็สามารถถ่ายทอดและกระจายข่าวนั้นไป และต้องทำด้วย 14. พระศาสนจักรรู้ข้อนี้ดี และมีความสำนึกอย่างแรงว่า พระวาจาของพระคริสตเจ้าที่ว่า เราต้องประกาศข่าวดีเรื่อ งพระอาณาจักรของพระเจ้าให้แก่เมืองอื่นด้วย เพราะเราถูกส่งมาก็เพื่อการนี้ (ลก 4 : 43) นั้น เป็นคำที่ใช้กับพระศาสนจักรเองอย่างแท้จริง พระศาสนจักรเต็มใจกล่าวต่อไปเหมือนนักบุญเปาโลว่า ในการประกาศข่าวดีข้าพเจ้าไม่รู้สึกภูมิใจแ ม้แต่น้อย เพราะข้าพเจ้าจำต้องประกาศอยู่แล้ว หากข้าพเจ้าไม่ประกาศข่าวดี ข้าพเจ้าย่อมได้รับความวิบัติ (1 คร 9 : 16) เมื่อสิ้นการประชุมสมัชชาพระสังฆราชในปี ค.ศ.1974เรามีความยินดีและบรรเทาใจที่ได้ยินถ้อยคำน่าฟังนี้ว่า เราใค
ร่ยืนยันอีกครั้งหนึ่งว่า งานประกาศพระวรสารแก่ชนทุกชาตินั้นเป็นหน้าที่สำคัญของพระศาสนจักร อันงานและหน้า
ที่นี้เมื่อสังคมในปัจจุบันเปลี่ยนแปลงอย่างกว้างขวาง ก็ยิ่งทำให้เป็นงานและหน้าที่ที่เร่งด่วนยิ่งขึ้นแท้จริง การประกาศรพระวรส
ารเป็นพระคุณและหน้าที่โดยเฉพาะของพระศาสนจักร เป็นลักษณะที่ลึกซึ้งที่สุดของพระศาสนจักร พระศาสนจักรนั้นมีไว้เพื่อประกาศพระวรสาร คือ เพื่อเทศนาและสอน เพื่อเป็นสื่อนำพระหรรษทาน เพื่อช่วยคนบาปให้กลับคืนดีกับพระเป็นเจ้า และเพื่อสืบ
การถวายบูชาของพระคริสตเจ้าในพิธีมิสซา ซึ่งเป็นพิธีระลึกถึงการสิ้นพระชนม์ และกลับคืนชีพอย่างรุ่งโรจน์ของพระองค์ 15. ผู้ใดอ่านทบทวนต้นกำเนินของพระศาสนจักรในพระคัมภีร์ภาคพันธสัญญาใหม่ ติดตามประวัติของพระศาสนจักรที
ละก้าว มองดูพระศาสนจักรดำรงชีวิตและปฏิบัติการ ผู้นั้นคงจะเห็นว่า ความเป็นอยู่ของพระศาสนจักร (สภาพ) อยู่ที่ต้องประกาศพระวรสาร 16. ฉะนั้นจึงมีความเกี่ยวพันอย่างแน่นแฟ้นระหว่างพระคริสตเจ้า พระศาสนจักรและการประกาศพระวรสาร ในยุคของ พระศาสจักรที่เรากำลังดำรงชีวิตอยู่ขณะนี้ พระศาสนจักรมีภาระหน้าที่ต้องประกาศพระวรสาร ภาระหน้าที่นี้จะปฏิบัติกันไปโดยไม่มีพระศาสนจักรไม่ได้ และยิ่งจะปฏิบัติไปในทางต่อต้านพระศาสจักรก็ยิ่งไม่ได้ เป็นการสมควรแน่ที่จะกล่าวเตือนเรื่องนี้ในยุคปัจจุบัน ซึ่งเราอาจจะต้องสลดใจได้ยินคนบางคน ที่เราอยากเชื่อว่ามีเจต นาดี แต่จิตใจหลงไขว้เขวไปจริง และพูดอ้างเสมอว่าเขาพร้อมที่จะรักพระคริสตเจ้า แต่ไม่ต้องรักพระศาสจักร เขาเชื่อฟังพระคริสตเจ้า แต่ไม่อยากเชื่อฟังพระศาสนจักรเขาขึ้นกับพระคริสตเจ้า แต่ไม่อยากขึ้นกับพระศาสนจักร จะเห็นได้ชัดว่า การแยกแ ยะเช่นนี้เป็นเรื่องไร้เหตุผลไร้สาระ ถ้าพิจารณาคำในพระวรสารต่อไปนี้ คือ ผู้ที่สบประมาทเรา ก็สบประมาทผู้ที่ทรงส่งเรามา (ลก 10 :16) เป็นไปได้อย่างไรที่จะรักพระคริสตเจ้าโดยไม่รักพระศาสนจักร เพราะคำที่กล่าวถึงพระคริสตเจ้าอย่างไพเราะจับใจที่สุดก็คือ คำของนักบุญเปาโลที่ว่า พระคริสตเจ้าทรงรักพระศาสนจักร และทรงพลีพระองค์เพื่อพระศาสนจักร (อฟ 5 : 25) |