ประกาศพระวรสารในโลกปัจจุบัน

Evangelii Nuntiandi

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -

อารัมบท

เร้าใจเป็นพิเศษให้ประกาศพระวรสาร

1. มนุษย์ในยุคของเรานี้เต็มเปี่ยมด้วยความหวัง แต่ในขณะเดียวกันก็มักจะถูกความกลั วและความกระวนกระวายครอบงำ จึงไม่ต้องสงสัยเลยว่า ความพยายามที่จะนำพระวรสารไปประกาศแก่คนเหล่านี้ ต้องนับเป็นการทำประโยชน์ช่วยเหลือคริสตชน ตลอดจนมนุษยชาติทั้งมวลด้วย

ด้วยเหตุนี้ หน้าที่ที่จะต้องให้กำลังใจบรรดาพี่น้องอันเป็นหน้าที่ที่เราได้รับจากพระคริสตเ จ้าพร้อมกับภาระหน้าที่เป็นผู้สืบตำแหน่งต่อจากนักบุญเปโตร (เทียบ ลก 22: 32) และนับเป็น “ห่วงพระศาสนจักรทุกแห่ง” (2 คร 11 : 28) เป็นโครงการดำรงชีวิตและปฏิบัติงานแ ละเป็นพันธะสำคัญในสมณสมัยของเรานี้ เราเห็นเป็นหน้าที่อันสูงส่งและจำเป็นยิ่งขึ้น เมื่อเป็นเรื่องเกี่ยวกับการเร้าใจบรรดาพี่น้องซึ่งทำหน้าที่ประกาศพระวรสาร ให้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวด้วยความรัก ความกระตือรือร้น และ ความยินดียิ่งขึ้นเสมอในยุคที่มีความไม่แน่นอนและระส่ำระสายอยู่ในขณะนี้

เนื่องในโอกาสเหตุการณ์ 3 ประการ

2. นี่แหละคือสิ่งที่เราใคร่ทำในสารฉบับนี้เมื่อสิ้นปีศักดิ์สิทธิ์ตลอดปีศักดิ์สิทธิ์พระศาสนจักรซึ่ง “มุ่งประกาศพระวรสารแก่มนุษย์ทุกคนอย่างสุดกำลัง” (สมณกฤษฎีกาพระสังคายนาเรื่องงานธรรมทูตแห่งพระศาสนจักร ข้อ 1) ไม่ประสงค์จะทำอะไรอื่นนอกจากทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสตเจ้า ซึ่งนำมาประกาศตามคำสั่งสำคัญ 2 ประการว่า “จงสวมใส่สภาพใหม่” (เทียบ อฟ 4 : 24; 2: 15; คส 3: 10; กท 3: 14; 2 คร 5: 17) และ “จงยอมคืนดีกับพระเจ้าเถิด” (2 คร 5:20)

เราใคร่ปฏิบัติดังนี้ เนื่องในโอกาสที่การประชุมสังคายนาวาติกันที่ 2 ปิดมาได้ 10 ปี อันว่าจุดหมายต่างๆ ของการประชุมครั้งนั้นพอจะสรุปเป็นข้อเดียวได้ว่า “ทำให้พระศาสนจักรในศตวรรษที่ 20 มีความคล่องตัวยิ่งขึ้นที่จะประกาศพระวรสารแก่มนุษย์ในศตวรรษนี้”

เราใคร่ปฏิบัติดังนี้ ดังเป็นที่ทราบดีว่าเมื่อสมัชชาพระสังฆราช (Synod) ครั้งที่ 3 มุ่งกล่าวถึงการประกาศพระวรสารปิดมาได้ 1 ปี และโดยเฉพาะเราใคร่ปฏิบัติดังนี้ เพราะบรรดาพระสังฆราชในสมัชชานี้เองได้ขอร้องเราให้ทำ อันที่จริง เมื่อคราวปิดประชุมสมัชชาครั้งนี้ บรรดาพระสังฆราชได้ลงมติให้เสนอผลงานที่ทำทั้งหมดด้วยจิตตารมณ์เรียบง่ายต่อประมุขพระศาสนจักรสากล พร้อมกับแสดงความหวังว่าพระสันตะปาปาจะทำการกระตุ้นเตือนอีกครั้งหนึ่ง บันดาลให้เกิดยุคประกาศพระวรสารใหม่ขึ้นในพระศาสนจักร ซึ่งจะฝังรากลึกยิ่งขึ้นด้วยพลังและอำนาจอันมิรู้เหือดหายซึ่งเข้ามาในโลกเมื่อพระจิตเจ้าเสด็จมา (คำปราศรัยของพระสันตะปาปา เปาโลที่ 6 เมื่อปิดสมัชชาพระสังฆราช ครั้งที่ 3 วันที่ 26 ตุลาคม 1974)


หัวข้อที่เน้นกล่าวถึงบ่อยๆ ในสมณสมัยของเรา

3. เราเคยเน้นถึงความสำคัญของเรื่องการประกาศพระวรสารหลายครั้งหลายหน แม้เมื่อก่อนจะเปิดประชุมสมัชชาพระสังฆราช เรากล่าวแก่คณะพระคาร์ดินัลเมื่อวันที่ 22 มิถุนายน 1973 ว่า “สภาพของสังคมปัจจุบันบังคับให้เราทุกคนจำต้องทบทวนดูวิธีปฏิบัติต่างๆ พยายามโดยทุกวิถีทางที่จะศึกษาดูว่า เราจะทำให้คำสอนของพระคริสตเจ้าไปถึงคนในสมัยนี้ได้อย่างไร เพราะคำสอนนี้เท่านั้นที่มนุษย์ในสมัยนี้จะพบคำตอบต่อปัญหาของตน อีกทั้งจะพบกำลังสำหรับถือพันธะที่จะต้องพึ่งพาช่วยเหลือเพื่อมนุษย์ด้วยกัน” เรายังเสริมว่า เพื่อปฏิบัติถือข้อต่างๆ ที่สภาสังคายนาเรียกร้องให้สนใจเป็นการจำเป็นจริงๆ ที่พวกเราจะต้องคำนึงถึงมรดกความเชื่อซึ่งพระศาสนจักรมีหน้าที่พิทักษ์ไว้ให้บริสุทธิ์ผุดผ่อง แล้วเสนอให้แก่มนุษย์ในสมัยของเราในแบบที่เข้าใจได้ และโน้มน้าวให้เชื่อมากเท่าที่จะกระทำได้

ตามแนวทางของสมัชชาของพระสังฆราชในปี 1974

4. หลักการของการประกาศพระวรสารขึ้นอยู่กับความสัตย์ซื่อต่อคำสอนที่เรารับหน้าที่เป็นผู้นำไปประกาศและกับ

เนื่องจาก “เป็นห่วงพระศาสนจักรทุกแห่ง” (2 คร 11: 28) เราใคร่จะช่วยพี่น้องและลูกของเราตอบคำถามสามข้อดังกล่าว คำพูดของเรานี้เกิดจากการทำงานเป็นผลดีเด่นของสมัชชาพระสังฆราชและมุ่งจะคิดพิจารณาถึงการประกาศพระวรสาร ดังนี้ ขอให้คำพูดของเราเชิญชวนประชากรทั้งมวลของพระเป็นเจ้าซึ่งรวมอยู่ในพระศาสนจักร ให้คิดพิจารณาในเรื่องเดียวกันนี้ด้วย และขอให้เป็นพลังใหม่กระตุ้นทุกคน โดยเฉพาะบรรดา  “ผู้ที่ทำงานหนักในการเทศน์และการสอน” (1 ทธ 5:17) เพื่อเขาแต่ละคนจะได้เป็น  “เป็นผู้สั่งสอนพระวาจาแห่งความจริงอย่างถูกต้อง”  (2 ทธ 2:15) ทำงานของผู้ประกาศพระวรสารและปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างดีเยี่ยม

เราเห็นว่า สารตักเตือนเช่นนี้มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เพราะการประกาศพระวรสารนั้นมิใช่งานที่พระศาสนจักรจะทำหรือไม่ทำก็ได้ แต่เป็นหน้าที่ซึ่งพระเยซูเจ้าทรงกำหนดสั่งให้ทำ เพื่อมนุษย์ทั้งหลายจะได้เชื่อและเอาตัวรอด ถูกแล้วการประกาศพระวรสารนี้เป็นสิ่งจำเป็นอย่างไม่มีที่เปรียบ ไม่มีอะไรอื่นจะใช้แทนได้ และบังคับเราถึงกับว่า จะอยู่เฉยๆ ไม่ถือก็ไม่ได้ จะถือรวมกับคำสอนอื่นก็ไม่ได้ และจะปรับปรุงให้สะดวกถือง่ายก็ไม่ได้ ความรอดของมนุษย์ขึ้นอยู่กับการประกาศพระวรสารซึ่งกล่าวถึงความตระการทั้งสิ้นของการไขแสดงของพระเป็นเจ้าสอนให้มีความฉลาดสุขุมซึ่งมิใช่แบบในโลกนี้ สามารถบุคคลที่เรามีหน้าที่นำคำสอนอันสำคัญไปให้ ความสัตย์ซื่อนี้นำปัญหาเร่งร้อน 3 ประกาศมาให้ ซึ่งสมัชชาพระสังฆราชในปี 1974 คำนึงถึงอยู่ตลอดเวลา คือ

1)พลังอันซ่อนเร้นของ “ข่าวประเสริฐ” ซึ่งสามารถจี้มโนธรรมของมนุษย์ได้อย่างแรงนั้น ทุกวันนี้เป็นอะไรไปแล้ว

2)พลังดังกล่าวของพระวรสารสามารถเปลี่ยนแปลงมนุษย์ในศตวรรษนี้ได้อย่างแท้จริงเพียงใดและอย่างไร

3)ต้องใช้วิธีประกาศอย่างไรจึงจะทำให้พลังของพระวรสารเกิดผล

อันที่จริง คำถาม 3 ข้อนี้บ่งชัดถึงปัญหาสำคัญของพระศาสนจักรในทุกวันนี้นั่นเองและเราพอจะตีความได้ดังนี้ว่า :การประชุมสังคายนาเป็นเวลาที่พระเป็นเจ้าได้ประทานให้แก่พระศาสนจักรในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของประวัติศาสตร์ แต่หลังจากสังคายนาครั้งนี้ พระศาสนจักรพร้อมยิ่งขึ้นหรือไม่ที่จะประกาศพระวรสารและจารึกลงในใจของมนุษย์ด้วยความเชื่อมั่นอย่างกล้าหาญ และอย่างมีผล

เชิญชวนให้รำพึงพินิจ

5.เราทุกคนต่างเห็นพ้องต้องกันว่า เป็นเรื่องรีบด่วนที่จะต้องตอบคำถามนี้อย่างตรงไปตรงมาอย่างสุภาพและกล้าหาญแล้วปฏิบัติให้สอดคล้องกับคำตอบจะบันดาลให้เกิดความเชื่อซึ่งพึ่งพิงพระฤทธานุภาพของพระเป็นเจ้า (เทียบ 1 คร 2 : 5) พระวรสารเป็นความจริงเป็นสิ่งอันมีค่าสมให้ผู้แพร่ธรรมสละเวลาและพลังทั้งหมดให้และถ้าจะเป็นก็จะพลีแม้แต่ชีวิตของตนให้ด้วย